Mental Health-Caring Mental Health Problems

Published on January 2017 | Categories: Documents | Downloads: 70 | Comments: 0 | Views: 599
of 144
Download PDF   Embed   Report

Comments

Content

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์
บรรณาธิการ
ISBN
พิมพ์ครั้งที่ 1
พิมพ์ครั้งที่ 2
พิมพ์ครั้งที่ 3
พิมพ์ครั้งที่ 4

: แพทย์หญิงดวงตา ไกรภัสสร์พงษ์
: 974-291-025-1
: มกราคม 2541 จำ�นวน 1,000 เล่ม
: สิงหาคม 2541 จำ�นวน 1,500 เล่ม
: สิงหาคม 2542 จำ�นวน 1,500 เล่ม
: สิงหาคม 2555

ผลิตโดย
สำ�นักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ
ห้ามลอกเลียนแบบส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
ข้อมูลบรรณานุกรม
แพทย์หญิงดวงตา ไกรภัสสร์พงษ์. บรรณาธิการ

คูม่ อื การดูแลผูม้ ปี ญ
ั หาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์.
พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : สำ�นักพัฒนาสุขภาพจิต. 2555.
พิมพ์ที่ บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำ�กัด

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์



คำ�นำ�
ความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องเป็น
ผลให้อัตราการตายของประชาชนลดลง ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงด้าน
เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดปัญหาโรคเรื้อรัง
โรคจิตเวชและปัญหาพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
สมรรถภาพในการทำ�งานเลี้ยงชีพและปรับตัวในชีวิตประจำ�วันลดลง เป็น
ภาระในการรักษา คาดการณ์ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ปัญหาโรคซึมเศร้าจะ
มีความสำ�คัญเป็นอันดับสองรองจากโรคหัวใจ นอกจากนี้พฤติกรรมที่เป็น
ปัญหาจิตเวช เช่น การฆ่าตัวตาย การติดสารเสพติดจะกลายเป็นปัญหา
สำ�คัญทางสาธารณสุข
จากการศึกษาในประเทศไทย พบว่าผู้รับบริการในโรงพยาบาล
ชุมชนมีปัญหาทางจิตเวชถึงร้อยละ 45 แพทย์มีความต้องการแนวทาง
การวินิจฉัย แนวทางการช่วยเหลือ ผู้มีปัญหาจิตเวช เทคนิคการให้การ
ปรึกษาและการให้กำ�ลังใจเพื่อให้การบริการมีคุณภาพ ภายใต้ความจำ�กัด
ในด้านเวลาของการให้บริการจากสภาพปัญหาและความต้องการดังกล่าว
ข้างต้น กรมสุขภาพจิตจึงได้จัดทำ�คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและ
จิตเวชสำ�หรับแพทย์ที่มีเนื้อหากระชับ ง่าย มีรูปธรรมและมุ่งหวังให้แพทย์
ทั่วไปสามารถวินิจฉัย บำ�บัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชที่ถูกต้อง เหมาะสมจากการ
ศึกษาคูม่ อื ด้วยตนเอง โดยเน้นปัญหาทีพ่ บได้บอ่ ยในเวชปฏิบตั ทิ วั่ ไป เนือ้ หา
ประกอบด้วยการดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน การดูแลผู้ป่วยจิตเวชทั่วไป
การดูแลรักษาผู้ติดสารเสพติด การดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชเด็ก แนวทาง



คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การให้บริการจิตเวชในสถานบริการสาธารณสุขทั่วไปและการใช้เครื่องมือ
ประเมินปัญหาจิตเวชและสุขภาพจิต
คูม่ อื เล่มนีส้ �ำ เร็จลุลว่ งด้วยการระดมความคิดสติปญ
ั ญาและความ
ร่วมมือจากคณะผูเ้ ขียน ได้รบั การตรวจสอบความถูกต้องและข้อเสนอแนะที่
เป็นประโยชน์จากคณะผูเ้ ชีย่ วชาญหลายหน่วยงานทัง้ ภายในกรมสุขภาพจิต
สำ�นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และทบวงมหาวิทยาลัย กรมสุขภาพจิต
ขอขอบคุณในความร่วมมือเป็นอย่างยิ่ง
อนึ่งคู่มือเล่มนี้ ได้รับความสนใจจากบุคลากรทางการแพทย์เป็น
อย่างดี กรมสุขภาพจิตจึงได้จัดพิมพ์คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและ
จิตเวช สำ�หรับแพทย์ ครั้งที่ 2 ขึ้น โดยหวังว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ
การให้บริการผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช เพื่อให้เขาเหล่านั้นมีคุณภาพ
ชีวิตที่ดี หากท่านมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะประการใด กรมสุขภาพจิต
ขอน้อมรับไว้เพื่อการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป



อธิบดีกรมสุขภาพจิต
สิงหาคม 2541

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์



สารบัญ

คำ�นำ�
สารบัญ
การดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน

 ฆ่าตัวตาย (Suicide)

 พฤติกรรมก้าวร้าวอาละวาด (Violent Behaviors)

 ภาวะสับสน (Delirium)

 กลุ่มอาการหายใจหอบถี่
(Hyperventilation Syndrome)

 ลมชัก (Epilepsy)
การดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชทั่วไป

 ภาวะซึมเศร้า (Depression)

 ภาวะวิตกกังวล (Anxiety)

 ภาวะโรคจิต (Psychosis)

 ปวดศีรษะ (Headache)

 ความจำ�เสื่อม (Dementia)
การดูแลรักษาผู้ติดสารเสพติด

 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการรักษาผู้ติดสารเสพติด

 การดูแลรักษาผู้ติดสารกลุ่มแอมเฟตามีน (ยาบ้า)

 การดูแลรักษาผู้ติดสุรา

 การดูแลรักษาผู้ติดเฮโรอีน

หน้า


1
9
18
28
31
40
46
55
63
69
73
79
87
97



คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชเด็ก

 พัฒนาการของเด็กและปฐมวัยที่ปกติและผิดปกติ

 ปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis)

 โรคสมาธิสั้น
(Attention Deficit Hyperactivity Disorder)
แนวทางการให้บริการจิตเวชในสถานบริการสาธารณสุขทั่วไป
การใช้เครื่องมือประเมินปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช

 General Health Questionnaire (GHQ-12)

 แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง

 แบบวัดหาโรคซึมเศร้าในประชากรไทย

 Hospital Anxiety and Depression Scale (HAD)
รายนามคณะที่ปรึกษา
รายนามคณะผู้เชี่ยวชาญ
รายนามคณะทำ�งาน

หน้า
109
113
115
118
120
121
124
129
133
136
136
136

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การดูแลรักษา

ผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน

1

2

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ฆ่าตัวตาย (Suicide)
พ.ญ.ดวงตา ไกรภัสสร์พงษ์
จิตแพทย์ กรมสุขภาพจิต

อาการ

ผู้ป่วยถูกนำ�ส่งโรงพยาบาลด้วยอาการที่เกิดจากการกระทำ�ด้วย
วิธกี ารใดๆ เพือ่ ทำ�ร้ายตนเอง ไม่วา่ จะเจตนาให้ถงึ แก่ความตายหรือไม่กต็ าม

การประเมินและการช่วยเหลือ

การประเมิน
1. ภาวะอันตรายทางกาย

 การซักประวัติ
 การตรวจร่างกาย/vital sign
 ประเมินวิธีการฆ่าตัวตาย
เพื่อช่วยชีวิตในระยะเร่งด่วน
และประเมินความตั้งใจใน
การฆ่าตัวตาย

การช่วยเหลือ
การช่วยเหลือทางด้านร่างกาย
ตามระดับความรุนแรง
 resuscitation
 shock management
 การช่วยหายใจ
 การห้ามเลือด
 การล้างท้อง เป็นต้น

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

3


การประเมิน
การช่วยเหลือ
2. การประเมินทางจิตใจและสังคม
ให้ผู้ป่วยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย
เพื่อสืบค้นมูลเหตุจูงใจและสาเหตุ ต่อการกระทำ�ซํ้า มีเจ้าหน้าที่อยู่ใกล้
ของการกระทำ�
อยูใ่ นทีท่ ห่ี า่ งไกลวัตถุทใ่ี ช้เป็นอาวุธได้

 การรักษาและการป้องกัน
การกระทำ�ซํ้า (ดูรายละเอียด
ในหัวข้อสาเหตุและวิธีประเมิน
ความเสี่ยง)
2.1 ผู้ป่วยหมดสติ ประเมินโดย
ช่วยเหลือตามวิธีช่วยเหลือผู้ป่วย
สัมภาษณ์ญาติ/ผู้นำ�ส่ง
หมดสติ
2.2 ผู้ป่วยพูดได้ กระวนกระวาย ให้ดูวิธีการช่วยเหลือในบทภาวะ
ไม่ร่วมมือ และการรับรู้
สับสน
กาลเวลา สถานที่
บุคคล ผิดปกติ

นึกถึงภาวะสับสน
2.3 ผู้ป่วยพูดได้ กระวนกระวาย
 ให้ยาคลายกังวลเพื่อลดอาการ
ไม่ร่วมมือ แต่การรับรู้กาลเวลา เช่น diazepam 5 mg PO
สถานที่ บุคคล ปกติ และไม่มี หรือ IV
หูแว่ว ไม่มีแนวคิดหลงผิด





การปรับตัวผิดปกติ
 เมื่ออาการสงบแล้วจึงช่วยเหลือ
(adjustment disorder) หรือ ระยะยาว (ดูในหัวข้อการช่วยเหลือ
โรคซึมเศร้า ระยะยาว)
(major depressive disorder)

4

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์


การประเมิน
การช่วยเหลือ
2.4 ผู้ป่วยมีระดับการรู้ตัวปกติ
 ให้ยา antipsychotics
และมีอาการหูแว่ว แนวความคิด เช่น haloperidol 5 mg IM
หลงผิด
 ถ้าวุ่นวายมาก อาจต้องผูกมัด
ผู้ป่วยตามแนวทางการผูกมัด
ผู้ป่วย (ดูในบทพฤติกรรม
ก้าวร้าวอาละวาด)
กลุ่มอาการโรคจิต (psychosis)  ปลอบโยนผู้ป่วยว่าอาการ
หรืออาจเป็นโรคซึมเศร้าที่มี ทรมานต่างๆ จะค่อยๆ ทุเลา
อาการโรคจิตร่วมด้วย (major ไม่ควรทำ�ร้ายตัวเองอีก
depressive disorder with
psychotic features)

 เมื่ออาการสงบแล้วจึงช่วยเหลือ
ระยะยาว (ดูในหัวข้อการ
ช่วยเหลือระยะยาว)
2.5 ผู้ป่วยที่ร่วมมือในการสัมภาษณ์  ไม่ต�ำ หนิซาํ้ เติมผูป้ ว่ ยให้เข้าใจว่า
การรับรู้กาลเวลา สถานที ่
ผู้ป่วยกระทำ�ไปเพราะมีความ
บุคคลปกติ ไม่มีหูแว่วและ ทุกข์ ต้องการคนเข้าใจและ
ความคิดหลงผิด ช่วยเหลือ

 ปลอบใจให้การปรึกษา
(counseling)
ภาวะซึมเศร้าหรือการปรับตัว  กระตุน้ ให้ญาติปลอบใจไม่ต�ำ หนิ
ผิดปกติ และซํ้าเติมผู้ป่วย

 ช่วยเหลือระยะยาว

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

5

เนื่องจากข้อจำ�กัดในเรื่องเวลา สถานที่และกำ�ลังบุคลากรใน
หอผู้ป่วยฉุกเฉินและการประเมินพฤติกรรมฆ่าตัวตายมีความละเอียดอ่อน
ดั ง นั้ น จึ ง ควรรั บ ผู้ ป่ ว ยไว้ เ ป็ น ผู้ ป่ ว ยในทุ ก ราย เพื่ อ การประเมิ น และ
การช่วยเหลือที่ถูกต้อง

สาเหตุ

1. เหตุทางสังคม เช่น
 อยู่คนเดียว ไม่มีครอบครัว หรือสิ่งแวดล้อมเกื้อหนุน
 ตกงาน
 สูญเสียสิ่งที่รัก
 มีแรงกระตุ้นจากการประโคมข่าวฆ่าตัวตาย เป็นต้น
2. เหตุทางสุขภาพ เช่น
 ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า
 ป่ ว ยด้ ว ยโรคจิ ต กระทำ � ไปเพราะหลงผิ ด หรื อ หู แว่ ว
มีเสียงสั่งให้ทำ�หรือเพื่อหนีจากเสียงสั่ง หรือหนีความ
ทรมานจากอาการดังกล่าว
 ติดสารเสพติด พิษสุราเรื้อรัง ขาดความยับยั้งชั่งใจ
 บุคลิกภาพและการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นผิดปกติ
 มี โรคเรื้ อ รั ง ทุ ก ข์ ท รมาน เจ็ บ ปวด เช่ น มะเร็ ง เอดส์
ไตวาย ลมชัก เป็นต้น

6

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

วิธีประเมินความเสี่ยง

1. ผู้ที่มีความตั้งใจในการฆ่าตัวตาย มีการเตรียมการ หรือใช้วิธี
รุนแรงเป็นผูท้ มี่ คี วามเสีย่ งสูง ควรสัมภาษณ์เพือ่ หาสาเหตุ เช่น
“คุณคิดอย่างไรหรือถึงได้ทำ�ร้ายตัวเอง ?”
“คุณตั้งใจทำ�จริงๆ หรือทำ�ไปเพราะอารมณ์ชั่ววูบ?”
“คุณเคยขอความช่วยเหลือจากใครมาก่อนหรือเปล่า ?”
“เพราะอะไรจึงเลือกวิธีนี้ ?”
“คุณเคยบอกใคร หรือเขียนบันทึกความตั้งใจของคุณไว้บ้าง
หรือเปล่า ?” เป็นต้น
2. มีความเสีย่ งสูงในผูท้ ยี่ งั คงต้องการตายหลังได้รบั การช่วยเหลือ
แล้ว “คุณรู้สึกอย่างไรเมื่อหมอได้ช่วยเหลือคุณ ?”
3. ผู้ที่มีประวัติความเจ็บป่วยทางจิตเวช โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า
โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคจิต หรือ โรคสมองเสื่อม และความเจ็บ
ป่วยทางกายเรื้อรัง มีความเสี่ยงสูง ประเมินได้จากประวัติ
ความเจ็บป่วยและการตรวจสภาพจิต
4. มีความเสี่ยงสูงในผู้ที่ขาดการสนับสนุนเกื้อกูลทางสังคม
5. มีความเสี่ยงสูงในผู้ที่มีประวัติทำ�ร้ายตนเองมาก่อน

การช่วยเหลือระยะยาว

1. รักษาสาเหตุ ดูรายละเอียดในบทที่เกี่ยวข้อง
2. จัดสิ่งแวดล้อมทั้งด้านกายภาพด้านจิตใจและด้านสังคมเพื่อ
ป้องกันการกระทำ�ซํ้า
 เฝ้าระวังในโรงพยาบาล
 ให้กำ�ลังใจ

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

7

อธิบายการดูแลผู้ป่วยที่บ้านให้กับญาติเพื่อให้เข้าใจสาเหตุของ
การกระทำ�ร่วมมือในการเป็นผู้สนับสนุนด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยและการบำ�บัด
รักษาอย่างต่อเนื่อง เฝ้าระวังไม่ให้ซ่อนวัตถุที่จะนำ�มาใช้เป็นเครื่องมือใน
การฆ่าตัวตาย
 การส่งต่อ รวมถึงการส่งต่อกลับไปยังชุมชนด้วย
 การนัดหมายและการเยี่ยมบ้าน
ป้องกันการกระทำ�ซํ้าโดยการประเมินอย่างรอบด้าน
รักษาสาเหตุ สนับสนุนเกื้อกูลด้านจิตใจและสังคม

8

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

บรรณานุกรม
1. Dubin WR. Psychiatric emergencies : Recognition and
management. In : Stoudemire A ed. Clinical psychiatry
for medical students. 2nd ed. Philadelphia : J.B. Lippicott
company. 1994 : 563-5.
2. Gabbard GO. Mood disorders : Psychodynamic etiology.
In : Kaplan HI, Sadock BJ eds. Comprehensive textbook of
psychiatry. 6th ed. Baltimore :William & Wilkins, 1995 : 1116-23.
3. Gelder M, Gath D, Mayou R. Suicide and deliberate self-harm.
In : Concise Oxford textbook of psychiatry. New York : Oxford
University Press, 1994 : 247-61.
4. Halton CL, Wustmann E. The Client with suicidal behavior.
In : Gorton JG, Partridge R ed. Practice and management of
psychiatric emergency care. St. Louise, Missouri : The C.V.
Mosby Company, 1982 : 124-37.
5. Roy A. Psychiatric emergencies : Suicide. In : Kaplan HI, Sadock
BJ eds. Comprehensive textbook of psychiatry/VI. 6th ed.
Baltimore : William & Wilkins, 1995 : 1739-51.
6. Word Health Organization. Guidelines for the primary
prevention of mental, neurological and psychological
disorders : Suicide. Geneva, 1993.

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

9

พฤติกรรมก้าวร้าวอาละวาด
(Violent Behaviors)
พ.ญ.ดวงตา ไกรภัสสร์พงษ์
จิตแพทย์ กรมสุขภาพจิต

อาการนำ�

กระวนกระวาย ผุดลุกผุดนั่ง ก้าวเท้าเร็ว ไม่อยู่นิ่ง กำ�หมัด
ขบกราม ด่าทอ ข่มขู่ เส้นเลือดที่ขมับเต้นแรง ทำ�ลายข้าวของ ถือสิ่งของที่
ใช้เป็นอาวุธได้เพื่อทำ�ร้ายผู้อื่น

สาเหตุ

แรงผลักดันภายในใจเกิดจากความรู้สึกสิ้นหวัง ต้องการแสดง
ความเป็นตัวของตัวเองต้องการควบคุมพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่นเพื่อ
ลบล้างความรู้สึกสิ้นหวัง

การวินิจฉัยแยกสาเหตุ

1. โรคทางจิตเวช
 กลุ่มอาการโรคจิต
 อารมณ์แปรปรวน
 เมาสารเสพติด
 สมองเสื่อมจากการใช้สารเสพติดเป็นเวลานาน

10

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

บุ ค ลิ ก ภาพผิ ด ปกติ เช่ น ต่ อ ต้ า นสั ง คม ยํ้ า คิ ด ยํ้ า ทำ �
หวาดระแวง เป็นต้น
 ขาดการควบคุมอารมณ์ที่หุนหันพลันแล่น
2. โรคกลุ่มอื่นๆ
 temporal lobe epilepsy
 พยาธิสภาพทางสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง การติดเชื้อ
ในสมอง อุบัติเหตุในสมอง เป็นต้น


การรักษา
หลักการ
ต้องป้องกันตัวผู้รักษา ผู้ป่วยและการเกิดเหตุร้ายกับผู้อื่น
วิธีการ
1. แพทย์ต้องควบคุมสติให้มั่นคง เพราะต้องเป็นผู้นำ�ทีมในการ
ควบคุมสถานการณ์
2. ยืนอยู่ในจุดที่ห่างจากผู้ป่วยพอสมควร ในตำ�แหน่งที่มีความ
ปลอดภัยทางกายภาพ สามารถถึงประตูเข้า-ออกได้ง่าย และ
ไม่อยู่กับผู้ป่วยตามลำ�พัง เตรียมทีมให้พร้อมที่จะควบคุม
ผู้ป่วยเมื่อเขาอาละวาด ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะหยุดอาละวาด
ถ้าเห็นว่ามีผู้ควบคุมอย่างจริงจัง
3. สำ � รวจว่ า ผู้ ป่ ว ยมี อ าวุ ธ อยู่ กั บ ตั ว หรื อ ไม่ ถ้ า มี ค วรถามถึ ง
สาเหตุ เช่น “มีอะไรทีท่ �ำ ให้คณ
ุ กลัวจนต้องมีอาวุธไว้กบั ตัว ?”
“มีอาวุธไว้ป้องกันอะไรหรือ ?”

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

11

4. ไม่ควรขออาวุธคืนจากผู้ป่วยทันทีเพราะจะเพิ่มความระแวง
ของผู้ป่วย
5. ระหว่างการสัมภาษณ์ ถ้าผูป้ ว่ ยยินยอมทีจ่ ะวางอาวุธ ให้ผปู้ ว่ ย
วางบนโต๊ะหรือพื้นเพื่อจะได้เก็บเมื่อสิ้นสุดการสัมภาษณ์
ไม่ควรรับอาวุธจากผู้ป่วยโดยตรง
6. แจ้ งเจ้ าหน้ าที่ โรงพยาบาลด้วยท่ าที ที่ ส งบทั น ที ถ้าผู้ ป่ ว ย
ไม่ยอมวางอาวุธ
7. กรณี ที่ แ พทย์ ถู ก ข่ ม ขู่ ด้ ว ยอาวุ ธ ให้ ส ติ ผู้ ป่ ว ยโดยพู ด ว่ า
“หมออยากช่วยเหลือคุณ คุณวางอาวุธก่อนจะดีไหม? หมอไม่
สะดวกใจ ถ้าคุณยังถืออาวุธในขณะทีเ่ รากำ�ลังพูดคุยกันเช่นนี”้
8. จัดยาและนํา้ เย็นให้ผปู้ ว่ ย โดยบอกว่าจะทำ�ให้เขามีพละกำ�ลัง
และควบคุมตนเองได้ดขี นึ้ ถ้าผูป้ ว่ ยปฏิเสธการรับประทานยา
ให้ใช้วิธีฉีดยา (ดูรายละเอียดในหัวข้อการให้ยาเพื่อให้ผู้ป่วย
สงบ)
9. หากผู้ป่วยไม่สงบยังควบคุมตนเองไม่ได้ ให้ผูกมัดผู้ป่วย โดย
บอกกับผู้ป่วยด้วยความสงบ ไม่ควรให้ผู้ป่วยต่อรอง (ดูใน
หัวข้อแนวทางการผูกมัดผู้ป่วย)
10. จัดเจ้าหน้าทีด่ แู ลผูป้ ว่ ยทีไ่ ด้รบั ยา และ/หรือถูกผูกมัดอย่างใกล้
ชิด ไม่ควรปล่อยผู้ป่วยไว้ตามลำ�พัง
11. รับผู้ป่วยไว้เป็นผู้ป่วยในทุกรายเพื่อติดตามการรักษา และ
บันทึกการดำ�เนินโรคในแฟ้มการรักษา
โรงพยาบาลควรมีมาตรการตรวจตราห้ามมิให้บุคคลใดๆ ซึ่ง
รวมทั้งตำ�รวจ พนักงานความปลอดภัย พกพาอาวุธเข้ามาในห้องฉุกเฉิน
เพราะเคยมีเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยแย่งอาวุธจากบุคคลดังกล่าวเพื่อทำ�ร้าย
ตนเองและผู้อื่น

12

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ข้อพึงระวังในการช่วยเหลือผู้ป่วยก้าวร้าวอาละวาด

1. พึงระลึกเสมอว่าอาจเกิดภาวะอันตรายจากผู้ป่วยขึ้นได้เสมอ
2. ไม่ควรไปดูผปู้ ว่ ยทีก่ �ำ ลังโกรธ กำ�ลังคุกคาม และกระวนกระวาย
มากในทันทีทันใด
3. ไม่ควรอยู่ในสถานที่ปิด ที่หนีได้ลำ�บากหรือหันหลังให้ผู้ป่วย
4. ไม่ควรเยาะเย้ย เสียดสีผปู้ ว่ ยหรือให้สญ
ั ญาด้วยความไม่จริงใจ
5. ไม่ควรสัมผัสผู้ป่วยหรือเข้าหาผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ได้
บอกกล่าวให้เขาทราบก่อน
6. ไม่ควรพยายามผูกมัดผู้ป่วยโดยไม่มีเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ที่
เพียงพอ
7. ไม่ควรละเลยการค้นหาสาเหตุทางกาย
8. ไม่ควรต่อรองกับผู้ป่วยในประเด็นความจำ�เป็นต้องช่วยเหลือ
ด้วยการผูกมัด การให้ยาหรือการรับผู้ป่วยไว้เป็นผู้ป่วยใน
9. ให้บันทึกแฟ้มรายงานของผู้ป่วยเพื่อให้แพทย์และทีมผู้รักษา
ต่อไปได้ทราบภาวะอันตราย และเหยื่อของผู้ป่วย
10. ให้หาข้อมูลที่สำ�คัญจากครอบครัวและเพื่อนของผู้ป่วย

แนวทางการให้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยสงบ

เป้าหมายเพื่อลดอาการตึงเครียด วิตกกังวล กระวนกระวาย
ไม่อยูน่ งิ่ เคลือ่ นไหวมาก ช่วยให้ผปู้ ว่ ยสงบจนสามารถร่วมมือในการประเมิน
อาการและการรักษา
อาการของโรคจิต เช่น หูแว่ว หลงผิด ไม่ใช่เป้าหมาย เพราะการ
รักษาอาการดังกล่าวต้องใช้ยารักษาโรคจิตต่อเนื่องอย่างน้อย 7-10 วันจึง
จะเห็นผล

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

13

กรณีผู้ป่วยร่วมมือรับประทานยา
ให้ฉีด haloperidol 2-5 mg IM หรือ haloperidol solution
20-50 drops (0.1 mg/drop) รับประทานพร้อมกับ diazepam 10 mg
หรือ lorazepam 2 mg
กรณีผู้ป่วยไม่ร่วมมือรับประทานยา
ให้ฉีด haloperidol 5 mg IM ร่วมกับ diazepam 10 mg IV ฉีด
ช้าๆ ไม่เร็วกว่า 2 นาที เพื่อป้องกันการเกิด apnea (ไม่นิยมให้ diazepam
IM เพราะการดูดซึมยาจะช้า)
ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน - 1 ชั่วโมง ถ้าผู้ป่วยยังไม่
สงบให้ยาซํ้า แต่ละ dose ห่างกัน - 1 ชั่วโมง

ผลข้างเคียงของยาต้านโรคจิตและการแก้ไข

1. Extrapyramidal Symptoms
ผู้ป่วยมีอาการกล้ามเนื้อแข็ง นํ้าลายยืด dystonic reaction
คือ มีอาการหลังแอ่น คอบิดหงายเอียง ตาเหลือกขึ้นข้างบน อาการเกิดขึ้น
ทันทีทันใด อาจมีอาการปวดร่วมด้วย
2. Akathisia
กระวนกระวาย ตึงเครียด หงุดหงิด นั่งไม่ติดที่ ขยับขาตลอด
เวลา ต้องลุกเดินเพื่อลดอาการตึงเครียดของขา วินิจฉัยแยกจากอาการของ
โรคจิต โดยถามผู้ป่วยว่า “เพราะอะไรถึงต้องลุกเดิน” ถ้าผู้ป่วยตอบว่าต้อง
ลุกเพราะนั่งแล้วหงุดหงิด ให้สงสัยว่าเป็นอาการ Akathisia

14

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การช่วยเหลือกลุ่มอาการดังกล่าว
ฉีด biperiden lactate (akineton) 2.5-5 mg หรือ
diphenhydramine (benadryl) 25-50 mg IM หรือ IV หรือให้รบั ประทาน
ยา trihexyphenedyl hydrochloride (artane หรือ benzhexol) 2 mg
ให้ยาซํ้าได้ทุก 30 นาที โดยปกติอาการจะทุเลาหลังให้ยาไม่เกิน 3 ขนาน
3. Postural hypotension
มักเกิดจากยากลุ่ม low potency เช่น chlorpromazine
เป็นต้น
การช่วยเหลือ 1. ให้ไขหัวเตียงให้ตํ่าลง

2. ให้ยา noradrenegic เช่น levartarenol
หรือ metaraminol

3. ไม่ให้ยากลุม่ a และ β หรือ β-adrenergic
เช่น epinephrines เพราะจะทำ�ให้เกิด
ความดันโลหิตตํ่าตามมา
4. neuroleptic malignant syndrome
อาการ ไข้สูง ชีพจรเร็ว ความดันโลหิตแกว่ง กล้ามเนื้อแข็ง
เกร็ง เกิดขึ้นแบบ idiosyncratic มักพบในผู้ป่วยเรื้อรัง อายุน้อย ขาดนํ้า
ขาดอาหาร มีความผิดปกติของระบบประสาท อยู่ในที่อากาศถ่ายเทไม่ดี
การช่วยเหลือ รักษาประคับประคองตามอาการ
1. หยุดยา antipsychotic ทุกชนิด
2. ให้ fluid และ electrolyte ให้เพียงพอ
3. ลดไข้ โดยให้ยาลดไข้
4. ให้ยา bromocriptine กินวันละ 1 เม็ด (2.5 mg) ค่อยๆ ปรับ
ขนาดยาให้ได้ถึง 3 เม็ด ต่อวัน

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

15

5. ให้การพยาบาลเพื่อป้องกันปอดบวม แผลกดทับ การติดเชื้อ
ของทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากผู้ป่วยเคลื่อนไหวลำ�บาก และ
มักต้องสวนคาท่อปัสสาวะ
6. ปรึกษาหรือส่งต่ออายุรแพทย์ หรือ ประสาทแพทย์โดยด่วน

แนวทางการผูกมัดผู้ป่วย

เป็นวิธีเพื่อควบคุมผู้ป่วยที่มีอาการกระวนกระวาย ไม่ร่วมมือใน
การรักษา มีแนวโน้มจะอาละวาดมิให้ทำ�ร้ายตัวเองหรือผู้อื่น ผูกมัดผู้ป่วย
จนกว่าจะออกฤทธิ์
การปฏิบัติ
1. ใช้เจ้าหน้าที่ 5 คน จับที่ข้อไหล่กับข้อแขนข้างละ 1 คน ข้อ
สะโพกกับข้อเข่าข้างละ 1 คน จับศีรษะ 1 คน ให้แถบผ้าเย็บ
เป็นสายผูกข้อมือ ข้อเท้ากับเตียง (แถบตรงที่อยู่ตรงข้อกว้าง
5 นิ้ว เย็บติดกับสายผูกกว้าง 1.5-2 นิ้ว 2 สาย)
2. บอกผู้ป่วยถึงเหตุผลของการผูกมัดว่า เพื่อช่วยให้เขาควบคุม
ตัวเองได้ดีขึ้น
3. มีเจ้าหน้าทีอ่ ยูเ่ ป็นเพือ่ นผูป้ ว่ ย หรืออยูใ่ นสายตาของผูป้ ว่ ยเพือ่
ลดความรู้สึกกลัว ความโดดเดี่ยวของผู้ป่วย
4. มัดผู้ป่วยในท่าแยกขาสองข้าง ผูกแขนสองข้างไว้ข้างตัว
5. เปลี่ยนท่าผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
และอาการปวดเมื่อย
6. ไขหัวเตียงสูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อป้องกันการสำ�ลัก และช่วยให้
ผู้ป่วยรู้สึกมั่นคงทางจิตใจ

16

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

7. ตรวจดูความปลอดภัย และความรูส้ กึ ของผูป้ ว่ ยทุก 5-10 นาที
8. พูดคุยปลอบใจและ/หรือให้ยาเพือ่ ให้ผปู้ ว่ ยสงบได้ในระหว่าง
ผูกมัด
9. ถ้าผูป้ ว่ ยดิน้ มากอาจใช้ผา้ ปูทนี่ อนผูกขวางกลางตัวและมัดปม
ไว้ข้างเตียง
10. เมื่อผู้ป่วยสงบ ให้ปล่อยขาทีละข้างทุก 5 นาที
11. ไม่ควรผูกมัดผู้ป่วยแต่ละครั้งนานเกิน 12 ชั่วโมง หากครบ
กำ � หนดเวลาแล้ ว ไม่ ส งบให้ พิ จ ารณาหาสาเหตุ เ พื่ อ รั ก ษา
โดยด่วน หรือส่งต่อ

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

17

บรรณานุกรม
1. จันทร์เพ็ญ ตัง้ ตระกูลและคณะ. คูม่ อื การใช้ยาจิตเวชสำ�หรับแพทย์ทวั่ ไป
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร
: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539 : 28, 81-103, 115-31.
2. มาโนช หล่อตระกูล. การป้องกันและดูแลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรง.
วารสารโรงพิมพ์พยาบาลศรีธัญญา 2539 ; 4(2) : 91-7.
3. สมภพ เรืองตระกูล เกรียงไกร แก้วผนึกรังสี. ยาจิตบำ�บัด. ใน; สมภพ
เรืองตระกูล อรพรรณ ทองแตง เกรียงไกร แก้วผนึกรังสีและคณะ. คู่มือ
จิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครัง้ ที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เรือนแก้ว. 2533
: 811-23.
4. Dubin WR. Psychiatric emergencies : Recognition and
management. In : Stoudemire A, ed. Clinical psychiatry for
medicine students. 2nd. Ed. Philadelphia : J.B. Lippicott Company, 1994 : 547-62.
5. Kaplan Hl, Sadock BJ, Grebb JA. Psychiatric emergencies. In
Kaplan HI, Sadock BJ, eds. Synopsis of psychiatry : Behavior
sciences clinical psychiatry. 7th ed. Baltimore : William &
Wilkins, 1994 : 811-23.

18

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ภาวะสับสน (delirium)
น.พ.วิเชียร ดีเป็นธรรม
จิตแพทย์ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

หลักการ

1. แพทย์ควรประเมินและเตรียมป้องกันความรุนแรงทีผ่ ปู้ ว่ ยอาจ
ก่อเกิดขึ้นทั้งตนเองและผู้อื่นเสมอ
2. การดูแลเบือ้ งต้น ให้ตรวจร่างกายและรักษาเช่นเดียวกับผูป้ ว่ ย
ฉุกเฉินทางกายทั่วไป (A-B-C)
3. รวบรวมประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจประเมินระบบประสาท
ตรวจประเมินสภาพจิตอย่างรวดเร็ว
4. ตรวจสภาพจิ ต มี สิ่ ง ที่ ค วรให้ ค วามสนใจเป็ น พิ เ ศษ คื อ
cognitive function ได้แก่ 1) orientation 2) memory
3) attention and concentration 4) intelligence 5)
abstract thinking 6) judgment
เมื่อตรวจพบความผิดปกติมากๆ ในส่วนนี้แล้วให้คิดถึง organic
causes ก่อนเสมอ หากมีความผิดปกติหลายๆ หัวข้อย่อยที่ตรวจในส่วนนี้
เรียกว่า global cognitive dysfunction จะมีกลุ่มโรคหลักๆ 2 กลุ่มที่ต้อง
คิดถึงก่อนคือ delirium และ dementia
5. การวินิจฉัย แยกโรค delirium กับ dementia
5.1 การวินิจฉัย delirium :
5.1.1 attention และ concentration ผิดปกติ
5.1.2 ความคิดสับสน

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

19

5.1.3 มี ค วามเปลี่ ย นแปลงสั บ สนของ level of
consciousness ได้ แ ก่ perception
sleepwake cycle, psychomotor activity,
orientation memory
5.1.4 อาการเป็นมากน้อยขึ้นๆ ลงๆ มักเป็นมากเวลา
โพล้เพล้
5.1.5 น่าจะเกิดจากโรคทางกาย โดยซักประวัติ ตรวจ
ร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการสนับสนุน
5.2 การวินิจฉัย dementia :
5.2.1 เสียความทรงจำ�ทั้งระยะสั้นระยะยาว
5.2.2 เสียความสามารถชั้นสูงของสมอง (ซึ่งบ่งชี้ความ
เสียหายของเปลือกสมองในหลายบริเวณ) ได้แก่
ความคิดเชิงนามธรรม การตัดสินใจที่สมเหตุสม
ผลในชีวิตประจำ�วัน บุคลิกภาพ ระบบการพูด
และความเข้าใจในภาษา
5.2.3 ความเสียหายดังกล่าวมากพอทีจ่ ะเกิดปัญหาชีวติ
ประจำ�วัน
5.2.4 ทั้งนี้โดยแยกภาวะ delirium แล้ว

20

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ตารางที่ 1 การแยก delirium กับ dementia ทางคลินิก
Clinical feature
delirium
dementia
Onset
abrupt (hours to days) gradual
(months to years)
Duration
brief (days to weeks) often chronic
Attention
impair
usually intact
Arousal
fluctuating
normal
Thought content rich ; disorder
impoverished
6. วินิจฉัยแยกเหตุฉุกเฉินของภาวะ delirium ดูตารางที่ 2
ตารางที่ 2 การวินิจฉัยแยกเหตุฉุกเฉินของภาวะ delirium

(WWHHHHIMP)
DIAGNOSIS
Wernicke’s
encephalopathy
Withdrawal
encephalopathy
Hypertensive
encephalopathy
Hypoglycemia

CLINICAL QUESTIONS
ataxia? ; ophalmoplegia? ; alcohol history
alcohol/drug history ; hypersympathetic
activity? : hyperreflexia?
severe hypertension ? ; papilledema?
insulin dependence DM ? ; low blood
sugar ?

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

21

DIAGNOSIS
CLINICAL QUESTIONS
Hypoperfusion of low BP ; low cardiac output? (e.g.arrhythmia,
CNS
cardiac failure)
Hypoxymia
arteria blood gas (low p02) ; pulmonary
disease
Intracranial bleed history of unconsciousness ;
focal neurologic signs
Meningitis/
fever ; meningeal signs ; WBC ;
encephalitis
viral prodrome
Poisons/
toxic screening ; signs of toxicity (e.g.pupillary
medications
abnormality ; nystagmus ; ataxia) ; ประวัตกิ าร
ใช้ยาประจำ�
หมายเหตุ สาเหตุพวกนีเ้ ป็นสาเหตุทพี่ บบ่อยและสามารถวินจิ ฉัยได้อย่าง
รวดเร็ว หากตั้งใจค้นหา และส่วนใหญ่การรักษาได้ผลดีถ้า
วินิจฉัยได้แต่เนิ่นๆ ฉะนั้นจึงต้องตรวจหาทุกครั้งที่มีการพบ
ภาวะ delirium

22

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

7. สาเหตุที่ทำ�ให้เกิดภาวะ delirium และ dementia ดูตาราง
ที่ 3
ตารางที่ 3 สาเหตุของ delirium and dementia

(mneumonic : I WATCH DEATH)
Infections

encephalitis, meningitis. syphilis, HIV,
Creutfeld-Jacob
alcohol, barbiturates. Sedative-hypnotics,
Withdrawal
benzodiazepins
Acute metabolic acidosis, alkalosis, electrolyte disturbance,
hepatic or renal failure dialysis, porphyria
heat stroke, postoperative, burn, head injury
Trauma
CNS pathology abscess, hemorrhage, hydrocephalus, multiple
sclerosis, stroke, seizure tumors, Parkinson’s,
Wilson’s
anemia, carbon monoxide, hypotension, cardiac
Hypoxea
failure, pulmonary emboli
B12, folate, niacin, thiamine
Deficiencies
Endocrinopathies hyper(hypo) adrenalcorticism, hyper (hypo)
glycemia, hyper (hypo) thyroidism, hyper (hypo)
parathyriodism
Acute vascular hypertensive encephalopathy, shock, vasculitis
ดูตารางที่ 4.
Toxin/drug
arsenic, lead, manganese, mercury, thallium
Heavy metal

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

23

ตารางที่ 4 ยาที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะ delirium ได้บ่อยๆ
antibiotics
anticholinergic anticonvulsant
acyclovir
chlopheniramin Phenobarbital
amphotericin B benztropine
phenytoin
cephalexin
atropine
sodium
valproate
chloroquine
belladonna
analgesics
alkaloid
antiinflamatory diphenhydramine apiates
corticosteroids phenothiazines salicylates
ibuprofen
promethazines synthetic
narcotics
drugs
indomethacin scopolamine
withdrawal
antiparkinson amitriptyline
alcohol
amantadine
antituberculous barbiturate
carbidopa
isoniazid
benzodiazepines
lovodopa

rifampicin

cardiac
beta-blockers
clonidine
digitalis

miscellaneous
aminophyline
bromide
chlorpropamide

disopyramide

cimetidine

lidocaline
methyldopa
quinidine

disulfiram
lithium
metronidazole

sympathomimetics podophylline
amphetamine
phenylephrines
antineoplastics
5-fluorouracil

propylthiouracil
theophylline
timolophthalmic

24

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

8. การดูแลรักษาผู้ป่วย delirium
8.1 ตรวจหาสาเหตุฉุกเฉิน delirium ก่อนเสมอ (WWHHHHIMP ในตารางที่ 2) หากตรวจพบให้ดำ�เนินการรักษา
ทันที เช่น Wernicke’s encephalopathy ต้องฉีด
thiamine เข้ากล้ามหรือเข้าเส้นเลือดดำ�ทันทีเป็นต้น
8.2 ประมวลข้อมูล เพื่อว่าสาเหตุใด (I WATCH DEATH)
ตารางที่ 3 และ 4 ที่น่าจะเป็นไปได้บ้าง แล้วพิจารณา
ส่งการสืบค้นต่อ
8.3 ขณะที่ยังไม่ได้ข้อสรุปให้รักษาประคับประคองและตาม
อาการ (supportive and symptomatic treatment)
8.4 ในด้านพฤติกรรมที่วุ่นวายหรือก้าวร้าวให้ใช้ antipsychotics ควบคุม ยาที่นิยมกันมากคือ haloperidol ให้
ตามระดับความวุ่นวายก้าวร้าวขนาดที่แนะนำ�คือ
 ถ้ารุนแรงมากให้ 5-10 mg
 ถ้ารุนแรงปานกลาง ให้ 2-5 mg
 ถ้ารุนแรงน้อย ให้ 0.5-2 mg
 จะให้ด้วยวิธีกินหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อก็ได้ตามความ
เหมาะสม
 ขนาดยาให้ผส
ู้ งู อายุหรือมีปญ
ั หาเกีย่ วกับตับให้ลดลง
ครึ่งหนึ่งหรือตํ่ากว่านั้นตามสภาพ
 ถ้าไม่ดีขึ้นใน 30 นาที ให้ยาซํ้าในขนาดเพิ่มเท่าตัว
จากครั้งแรก
 หากยังไม่ดีขึ้นในอีก 30 นาที ให้ยาซํ้าในขนาดเพิ่ม
อีกเท่าตัวจากครั้งที่สอง

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

25

หากยังไม่ดีขึ้นให้ฉีด diazepam เข้าหลอดเลือดดำ�
ช้าๆ ในขนาด 5-10 mg สลับกับ haloperidol ทุก
30 นาทีจนผู้ป่วยสงบ
 ขนาดยาที่ให้ทั้งหมดนี้จะเป็นขนาดยาต่อวันสำ�หรับ
วันถัดไป
 วันที่ 3 หลังจากผู้ป่วยสงบได้ที่แล้วให้พิจารณาลด
ขนาดยาลงวันละครึ่งหนึ่ง
ในกรณีทตี่ อ้ งการเปลีย่ นยาฉีดเป็นยากินให้เพิม่ ขนาด
เป็น 2 เท่า
8.5 ในกรณีที่เป็น withdrawal delirium จะเลือกให้ยา
แตกต่างไปตามสาเหตุ เช่นใน alcohol withdrawal
delirium ยาที่ ค วรพิ จ ารณาเลื อ กก่ อ นคื อ ยากลุ่ ม
benzodiazepines เป็นต้น
8.6 ค�ำ แนะนำ�และจิตบำ�บัด (psychosocial intervention)
มุ่งให้แก่เจ้าหน้าที่และญาติเป็นหลัก ให้ตั้งสติ สงบลง
เข้าใจสภาพความเป็นไปของผู้ป่วยและโรค สามารถ
รับมือและดูแลปัญหาตามสมควรในส่วนของตนเองได้
8.7 ก ารดู แ ลแก้ ไ ขสิ่ ง แวดล้ อ ม (environmental
intervention) มุ่งเน้นการปรับสิ่งเร้าให้ผู้ป่วยดีขึ้นจาก
ภาวะสับสนได้แก่ ห้องนอนที่ปลอดโปร่งมีแสงสว่าง
พอเพียง ไม่มีเสียงดังอึกทึก ไม่เปลี่ยนแปลงสภาพห้อง
มีนาฬิกา ปฏิทิน เพื่อเตือนเวลา เป็นต้น


26

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

สรุปการดูแลผู้ป่วยสับสนวุ่นวาย

1. ประเมินและเตรียมป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น
2. ดูแลเบือ้ งต้นเช่นเดียวกับผูป้ ว่ ยฉุกเฉินทางกายทัว่ ไป (A-B-C)
3. รวบรวมประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจระบบประสาท ตรวจ
สภาพจิตอย่างรวดเร็ว
4. แยกโรคในตารางที่ 2 (WWHHHHIMP) ให้ได้ก่อน หากตรวจ
พบดำ�เนินการรักษาทันที
5. พิ จ ารณาส่ ง สื บ ค้ น หาสาเหตุ ต ามตารางที่ 3 (I WATCH
DEATH)
6. ขณะที่ ยั ง ไม่ ไ ด้ ข้ อ สรุ ป วิ นิ จ ฉั ย โรคที่ แ น่ น อนให้ รั ก ษาแบบ
ประคับประคองและตามอาการไปก่อน
7. พฤติกรรมที่ก้าวร้าววุ่นวายให้ haloperidol 0.5-2 mg. 2-5
mg หรือ 5-10 mg ตามความรุนแรงและเหมาะสมกับวัย
ขนาดและสภาพร่างกาย หากไม่สงบให้ยาซํ้าได้ใน 30 นาที
ในขนาดยาทีเ่ พิม่ เป็น 2 เท่า หากยังไม่สงบให้ยาเพิม่ อีก 2 เท่า
ถ้ายังไม่สงบอีก diazepam 5-10 mg ช้าๆ เข้าหลอดเลือดดำ�
โดยให้สลับกับ haloperidol ทุกๆ 30 นาที จนผู้ป่วยสงบ
8. เสริมด้วย psychosocial intervention และ environmental
intervention ที่เหมาะสม

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

27

บรรณานุกรม
1. Wise MG, Runnel JR. Delirium (confusional state) and dementia. In: Wise MG, Runnel JR, ed. Concise guide to consultation
psychiatry. U.S.A. : American Psychiatric Press, Inc; 1992:21-3,
26-8, 31.2.
2. Lahmeyer HW, Channon RA, Schlemmer RF Jr. Psychoactive
substance abuse. In : Flaherty JA, Channon RA, Davis JM, eds.
Lange Clinical manual : Psychiatry diagnosis & therapy ‘88/89’
U.S.A. : Appleton & Lange, 1988 : 145, 148.

28

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

กลุ่มอาการหายใจหอบถี่
(Hyperventilation Syndrome)
พ.ญ.ดวงตา ไกรภัสสร์พงษ์
จิตแพทย์ กรมสุขภาพจิต

อาการสำ�คัญ

หายใจหอบถี่ เร็ว แรง สั้น หายใจขัดและหายใจลึกเป็นช่วงๆ
 แน่นหน้าอก มึนศีรษะ ปวดศีรษะ หูอื้อ ตาลาย เป็นลม
 อ่อนเพลีย
 ชาปลายมือ ปลายเท้า กล้ามเนื้อมือเกร็งจีบ
 ตื่นตระหนกตกใจกับอาการทางกายที่เกิดขึ้น
 เกิดอาการเป็นช่วงๆ (episode) เกิดได้ทั้งเฉียบพลันและ
เรื้อรัง
 มักเกิดร่วมกับภาวะวิตกกังวลชนิด panic disorder


การวินิจฉัยแยกโรค

โรคลมชัก
 ภาวะเป็นลมที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของสมอง เมตะบอ
ลิซึม การได้รับสารพิษ ได้รับยาบางชนิดเกินขนาด เช่นยา
salicylates เป็นต้น
 หอบหืด (asthma)


คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

29

สาเหตุ

เป็นกลไกทางจิตใจในการเผชิญกับความเครียดและความคับ
ข้องใจที่แสดงออกมาในความผิดปกติของร่างกาย ซึ่งตนเอง ครอบครัวและ
สังคมยอมรับได้แต่ไม่ได้เกิดจากการแกล้งทำ�

การรักษา
ระยะเฉียบพลัน
1. ครอบถุงกระดาษหรือกรวยกระดาษที่ตัดปลายมุมกันถุงหรือ
มุมกรวยให้ผู้ป่วยหายใจช้าๆ ลึกๆ ในถุง/กรวยกระดาษที่
ครอบ (เพื่อเพิ่มระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงลมปอด
และระดับเลือด)
2. ปลอบใจผู้ป่วยให้คลายความวิตกกังวล
3. ในรายที่กังวลมากให้รับประทานยา diazepam 5 mg หรือ
lorazepam 2 mg ร่วมด้วย
ระยะยาว
1. ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วย อาจพูดว่า “อาการของคุณเกิดขึ้นได้
เวลาที่มีความเครียด ความกังวลมากๆ คุณจะค่อยๆ ดีขึ้น ถ้า
คุณฝึกผ่อนคลายความเครียดอย่างสมํ่าเสมอ”
2. ฝึกคลายเครียดโดยวิธีการหายใจเข้า-ออกช้าๆ
หายใจเข้าให้ท้องป่องออก นับ 1-2-3-4-5
กลั้นไว้นับ 1-2-3-4-5
หายใจออกท้องแฟบ นับ 1-2-3-4-5
เมือ่ หายใจถูกต้องสมํา่ เสมอแล้ว ให้ฝกึ หายใจให้ลกึ และยาวขึน้
ฝึกครั้งละ 10-15 นาที วันละ 1-2 ครั้งจนชำ�นาญ

30

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

3. ผู้รักษาโน้มน้าวจิตใจ ให้กำ�ลังใจผู้ป่วยให้เผชิญความเครียด
ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ไม่วิตกกังวลหรือกุลีกุจอกับผู้ป่วย
จนเกินไปซึ่งจะทำ�ให้ผู้ป่วยยังใช้กลไกการเผชิญความเครียด
เช่นเดิม

บรรณานุกรม

1. Agars Ws. Behavior Therapy. In: Kaplan HI, Sadock BJ eds.
Comprehensive Textbook of Psychiatry. 6th ed. Baltimore :
William & Wilkins. 1995 : 1974.
2. Betts T, Kenwood C. Practical Psychiatry. New York : Oxford
University Press, 1992 : 265.
3. Davison GC, Neale JM. Abnormal Psychology, 6th ed. New
York: John & Wiley & Son, Inc. 1996: 145.
4. Gelder M, Gath D, Mayou R. Concise Oxford Textbook of
Psychiatry. New York : Oxford University Press, 1994 : 104.
5. Kaplan HI, Sadock JB, Grebb JA. Synopsis of Psychiatry Behavioral Sciences Clinical Psychiatry. 7th ed. Baltimore : William
& Wilkins, 1994 : 760.
6. Noyes R JR, Holt CS. Anxiety Disorder. In : Winokur G ed.
The Medical Basic of Psychiatry. 2nd ed. Philadelphia : W.B.
Saunder Company, 1994 : 140.
7. Slaby AE. Handbook of Psychiatric Emergencies. 4th ed. Connecticut : Appleton & Lange, 1994 : 267.
8. Wilkinsar G. Anxiety : Recognition and Treatment in General
Practice. Oxford : Radcliffe Medical Press, 1992 : 25-6, 37, 58.

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

31

โรคลมชัก (Epilepsy)
พ.ญ.อรวรรณ ศิลปกิจ
ประสาทอายุรแพทย์ โรงพยาบาลศรีธัญญา

การวินิจฉัยและการรักษา ดังแผนภูมิ


โรคลมชัก Epilepsy

partial seizure

generalized seizure

simple complex GTCS* absence myoclonic atonic
1. รักษาเมื่อ
1. ชักอย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไปใน 1 ปี

2. ชักเพียงครัง้ เดียว แต่ทราบว่ามีแนวโน้มทีเ่ กิดซํา้
พยาธิสภาพในสมองอยู่ ยังไม่ได้แก้ไขสาเหตุ
2. ยากันชัก
CBZ*, PHT*, PBB*, VPA* ประสิทธิภาพเท่ากันใน

โรคลมชัก ชนิด GTCS ทั่วๆ ไป
3. หยุดยาเมื่อ
ไม่ชกั เลยอย่างน้อย 2 ปี ค่อยๆ หยุดยาภายใน 6 เดือน
* GTCS
* CBZ
* PHT
* PBB
* VPA

= Generalized Tonic - Clonic Seizure
= Carbamazepine
= Phenytoin
= Phenobarb
= Valproate

32

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

4. investigate CT brain. MRI brain เมื่อมีข้อบ่งชี้ 2 ใน 3 ข้อขึ้นไป
1. ชักในอายุมากกว่า 25 ปี
2. มี Focal neurological deficits
3. EEG มีความผิดปกติเฉพาะที่
5. หญิงวัยเจริญพันธุ์
 ให้คำ�แนะนำ�เรื่องยาคุมกำ�เนิดจะกดฤทธิ์ของยา estrogen
ลงถ้ากินร่วมกับยากันชัก CBZ, PHT, PBB (ยกเว้น VPA ตัว
เดียวที่ไม่มีผล)
 ถ้าตั้งครรภ์ ระวังการใช้ VPA เพราะอาจทำ�ให้เกิด neural
tube defect ได้ต้องตรวจครรภ์ เมื่อมีอายุครรภ์ 16-28
สัปดาห์ ด้วย UTS หรือ amniocentesis ถ้าจำ�เป็น
6. ผู้สูงอายุ ไม่ควรหยุดยากันชัก เลือกใช้ยาที่มีฤทธิ์อย่างน้อย เช่น PHT,
CBZ
7. ข้อควรระวัง
 CBZ ไม่ควรให้ร่วมกับ erythromycin
 CBZ VPA ควรเริ่มให้ขนาดน้อยก่อน (เช่น 1 เม็ด/วัน) เพราะ
มีผลข้างเคียง อาจเวียนศีรษะได้มาก
 อาจเกิดผื่นแพ้ยาภายใน 1-2 สัปดาห์ จะมีอาการคล้ายหวัด

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

33

การวินิจฉัยแยกโรคลมชัก ดังตาราง

ตารางแสดงความแตกต่างของโรคลมชัก กับภาวะคล้ายชัก
Characteristic
Clinical features
Onset
Body movements
Biting
Micturition
Defecation
Self-injury
Postictal confusion
Consciousness
Duration
Initiation or
termination by
suggestion
EEQ
Interictal
Ictal
Neuroendocrinology
Prolactin
Therapy
Anticonvulsant
Withdrawal

Non epileptic

Epileptic

ค่อยๆ เป็นค่อยไป
เป็นทันทีทันใด
ไม่สัมพันธ์กัน
มีอาการเกร็ง กระตุก
ปาก, มือและบริเวณอื่นๆ
ลิ้น
มักไม่มีอาการ
พบได้บ่อย
มักไม่มี
พบได้บ้าง
มักไม่มี
พบบ่อย
ไม่มี
มี
ปกติหรือผิดปกติเล็กน้อย
ไม่รู้สึกตัว
เป็นเวลานานหลายนาที 30 วินาที-สองสามนาที
มี
ไม่มี
+ ผิดปกติ
ไม่เปลี่ยนแปลง
ไม่เปลี่ยนแปลง
ไม่เพิ่มอาการชัก

* เฉพาะชนิด generalized seizures.

+ ผิดปกติ
ผิดปกติ
เพิ่มขึ้น*
มีอาการชักเพิ่มขึ้น

34

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การคัดกรองผู้ป่วยลมชัก

อาจให้ พ ยาบาล/เจ้ า หน้ า ที่ คั ด กรองผู้ ป่ ว ยก่ อ นพบแพทย์
โดยสามารถเลือกใช้แบบคัดกรองโรคลมชักฉบับโรงพยาบาลศรีธัญญา*
(พัฒนาโดย พญ.อรวรรณ ศิลปกิจ กลุ่มงานประสาทวิทยา โรงพยาบาล
ศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต)

แบบคัดกรองโรคลมชักฉบับโรงพยาบาลศรีธัญญา
คะแนน
ไม่มี มี ประจำ
�ข้อ
1. ท่านเคยมีอาการไม่รู้สึกตัว หรือหมดสติ หรือวูบ
1
2. ท่านจำ�เหตุการณ์ระหว่างที่ไม่รู้สึกตัว หรือหมดสติไม่ได้
1
3. ท่านเคยได้กลิ่นประหลาดก่อนเกิดอาการไม่รู้สึกตัวหรือ
1
หมดสติ
4. เมือ่ ท่านหมดสติ หรือไม่รสู้ กึ ตัว ท่านเคยปัสสาวะราด หรือ
2
อุจจาระราด
5. เมื่อท่านหมดสติ หรือไม่รู้สึกตัว ท่านเคยได้รับบาดเจ็บ
2
อื่นๆ ตามร่างกาย
6. เมื่อท่านหมดสติ หรือไม่รู้สึก ท่านเคยกัดลิ้น
2
7. ท่านเคยหมดสติ หรือไม่รู้สึกตัว พร้อมกับล้มลง
1
8. ท่านฟื้นจากไม่รู้สึกตัว หรือหมดสติ ท่านเคยมีอาการ
1
สับสน ไม่รู้ตัวทันที
9. เคยมีคนบอก หรือท่านเคยมีอาการกระตุกที่ แขน
1
หรือหน้า หรือตามลำ�ตัวโดยควบคุมไม่ได้
10. เคยมีคนบอกว่าท่านเป็นโรคลมชัก หรือลมบ้าหมู
หรือลมชักกระตุก
คะแนนรวม
คำ�ถาม

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

35

คำ�ชี้แจง 1. ถ้าตอบว่าไม่ในข้อ 1 ให้ข้ามไปถามข้อ 9 ได้ทันที
2. การให้คะแนน ถ้าตอบว่าไม่มี คะแนนเป็น 0
3. เกณฑ์
 จุดตัดคะแนน 4 คะแนนขึน
้ ไปถือว่าเป็นผูป้ ว่ ยลมชัก ชนิด
generalized seizures
 จุดตัดคะแนน 2 คะแนน อาจจะเป็น absence focal
seizure หรือ Petit mal ต้องวินิจฉัยแยกผู้ป่วยที่มี
อาการเกร็ง ตะคริว หนังตากระตุก หน้ากระตุก ออกจาก
การชักเฉพาะที่
4. ผูป้ ว่ ยแกล้งชักอาจจะให้ผลบวกได้ ควรซักถามระยะเวลาทีช่ กั
แต่ละครั้ง ลักษณะการชักที่ไม่แน่นอนจะช่วยแยกโรคได้

ขนาดยาที่ใช้ต่อวัน ดังตาราง
ชนิดยา
CBZ
phenobarb
valproate
phenytoin
clonazepam
clobazam


ขนาดเริ่มต้น ขนาดทั่วไป ขนาดรักษา มื้อยา/วัน
100 mg bid 600-800 400-2000
2-4
30-60 mg
90-120
60-180
1-2
200 mg bid 700-1000 400-3000
2
100-200 mg
300
100-700
1-2
0.5-1 mg
4
2-8
1-2
10 mg hs
20
10-40
1-2

ระดับยา
4-10 mg/l
10-40 mg/l
50-100 mg/l
10-20 mg/l
none
none

ดัดแปลงจาก table 3 prescribing anticonvulsants in adults.
by Broodie M.J.

36

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การรักษา Status epilepticus

ชักนานมากกว่าหรือเท่ากับ 30 นาที หรือชักติดกัน 2 ครั้งขึ้นไป
ระหว่างชักไม่รู้สึกตัว ให้เปิดหลอดเลือดดำ�ด้วย NSS และ clear airway
ตามกฎ ABC
Step I DZP 10 mg IV ภายใน 2 นาที ภายใน 5 นาทีหลังเริ่มฉีด ถ้า
ไม่หยุดชักให้ยาได้อีก 1 ครั้ง ถ้าหยุดชักแล้วให้ฉีด PHT ในข้อ
ต่อไปเพื่อป้องกันชักซํ้า
Step II PHT 18 mg/kg ฉีดซํ้าภายใน 10 นาที หลังจากฉีดแล้วไม่หยุด
ชักภายใน 30 นาที ให้ซาํ้ ได้ ½ dose (ต้องระวังไม่ให้มี glucose
ใน IV fluid)
Step III ถ้าไม่มี PHT ให้ใช้ PBB 20 mg/kg ฉีดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100
mg/นาที ระวัง apnea
Step IV ถ้าไม่มี PBB, PHT ให้ rivotril 1 mg IV ทุก 6 ชั่วโมง
Step V หรือใช้ Pentothai 15 mg/kg ภายใน 1 ชั่วโมง continuous
drip 1-2 mg/kg/hr

ในระหว่างนีต้ อ้ งหาสาเหตุ รักษาประคับประคองป้องกันภาวะ
anoxia, cerebral edema อาจต้องให้ glucose, วิตามิน B
ใน IV fluid ให้กรณีที่ไม่ได้ประวัติอะไรมาก่อน ถ้าสงสัย brain
tumour ก็อาจให้ dexamethasone 4 mg IV ได้

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

37

บรรณานุกรม
1. Ramsay FE, Sanchez RM Antiepileptic drugs, pregnancy and
breast-feeding Merritt Putnam Quarterly 1986; 3(2)
2. Yerby MS. Epilepsy : New Issues for an Old Disorder. Neurol
Clinics 1993;11:777-86.
3. Hauser WA, Annegers JF. Epidemiology of epilepsy. In Laidlaw
J, Richens A, Chadwick D. eds, A textbook of Epilepsy. 4th Ed.
Chuchill Livingstone:London 1993:23-45.
4. Roscizewsk D. Epilepsy and menstruation. Epilepsia
1987;12:373-8.
5. Duncan J. Epilepsy. Lecture note on epilepsy. Oxford:Ciba
Gigy, 1995.
6. Schmidt D. Epilepsy in women. In Leidlaw J, Richens A,
Chadwick D. eds, A textbook of Epilepsy. 4th Ec. Chruchill
Livingstone:London 1993:637-44.
7. Brodie MJ. Management of epilepsy during pregnancy and
lactation. Lancet 1990;336:426-427.
8. Devinsky O, Yerby MS. Moman with epilepsy. Neurologic
clinics 1994;12: 479-94.
9. Nakane Y, Okuma T, Takahashi R, et al. Multi-institutional
study on the teratogenicity and fetal toxicity of antiepileptic
drugs:a report of a collaborative study group in Japan.
Epilepsia 1980;21:663-80.

38

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

10. Mederios YS, Calixto JB. Inhibitory effect of diphenylhydantoin
on myometrium from pregnant women in vitro: A comparative
study with nicardipine and trifluoperazine. Pharmacol Res
1990;22-597-63.
11. Robert E. Guibaud P: Maternal valporic acid and congenital
neuraltube defects. Lancet 1982;2:937.
12. Tods G. Spine bifida in infants of women treated with
carbamazepine during pregnancy. N Engi J Med 1991;324:674-7.

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การดูแลรักษา

ผู้ป่วยจิตเวชทั่วไป

39

40

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ภาวะซึมเศร้า (Depression)
ผศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ได้แก่

โรคทางจิตเวชทีม่ อี าการซึมเศร้าเป็นอาการหลัก ทีส่ �ำ คัญมีอยู่ 2 โรค
1. Adjustment disorder with depressed mood ผู้ป่วย
ประสบความกดดันแล้วแก้ปัญหาหรือปรับตัวต่อปัญหาไม่
ได้ จึงเกิดภาวะซึมเศร้าติดตามมา เช่น ตกงาน เกษียณ และ
หย่าร้าง เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว เมื่อมีผู้คอยช่วยเหลือ เมื่อ
เวลาผ่านไป อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น จากการที่ผู้ป่วยเริ่มเห็น
ทางแก้ไขหรือปรับตัวต่อปัญหา
2. Major depressive disorder ผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าที่เป็น
อยู่นานเป็นสัปดาห์ๆ ร่วมกับมีอาการต่างๆ ตามตารางที่ 1
ต่างจาก adjustment disorder ที่ในโรคซึมเศร้านี้ อาการ
จะรุนแรงกว่า และนอกจากอาการซึมเศร้าแล้วจะต้องมีอาการ
สำ�คัญอื่นๆ ร่วมตามด้วย และมักพบว่าผู้ป่วยมีอาการวิตก
กังวลร่วมด้วย อย่างไรก็ตามอาการซึมเศร้าจะเด่นกว่า

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

41

ตารางที่ 1 การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า
ผู้ป่วยมี อารมณ์ซึมเศร้า หรือมีความเบื่อหน่ายหมดความสนใจ
ในสิ่งต่างๆ ร่วมกับมีอาการดังต่อไปนี้ตั้งแต่ 4 อาการขึ้นไป เป็นเวลานาน
อย่างน้อย 2 สัปดาห์
1. เบื่ออาหาร หรือนํ้าหนักลด
2. นอนไม่หลับ
3. ความคิด การเคลือ่ นไหวเชือ่ งช้า หรือกระสับกระส่าย หงุดหงิด
4. อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
5. สมาธิ ความจำ�เสื่อม
6. มีความคิดอยากตาย
7. รู้สึกตนเองไร้ค่า ตำ�หนิตนเอง

การรักษา
การช่วยเหลือผู้ป่วยด้านจิตใจเบื้องต้น
1. มี ท่ า ที ที่ รั บ ฟั ง เห็ น ใจผู้ ป่ ว ย และพร้ อ มจะช่ ว ยเหลื อ
จะทำ�ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจขึ้น
2. บอกอาการและการวินิจฉัยแก่ผู้ป่วย โดยเน้นว่าเป็นปัญหาที่
พบได้ไม่น้อย และเป็นโรคที่รักษาได้ผลดี
ผู้ป่วยมักแจ้งอาการทางร่างกายต่างๆ ควรให้ความสนใจ และ
อธิบายว่าเป็นอาการที่มักพบร่วมกับโรค ซึ่งจะดีขึ้นเมื่อภาวะซึมเศร้าดีขึ้น

42

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การรักษาด้วยยา
ก. การรักษาในระยะเฉียบพลัน (Acute treatment)
ยาแก้เศร้าทุกตัวไม่ได้ออกฤทธิ์รักษาอาการซึมเศร้าทันที โดย
ทั่วไปจะเห็นผลหลังจากได้ยาไปแล้ว 1-2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามในระหว่าง
นีผ้ ปู้ ว่ ยจะรูส้ กึ ดีขนึ้ จากผลด้านอืน่ ๆ ของยา เช่น หลับได้ดขี นึ้ เบือ่ อาหารลด
ลง ความวิตกกังวลลดลง เป็นต้น
ตารางที่ 2 ยาแก้เศร้าที่ใช้บ่อย
ชื่อยา
ยากลุ่ม tricyclic
Amitriptyline
Imipramine
Nortriptyline
Doxepin
ยากลุ่มใหม่
Mianserin
Fluoxetine

ขนาดในการ
anticholin- ฤทธิ์ข้างเคียง
รักษา (มิลลิกรัม/
hypotension
ergic
sedative
วัน)
75-150
75-150
50-100
50-150

+++
++
+
++

+++
++
++
+++

+++
++
+
+++

30-90
20-40

0
0

+++
0

+
0

0
0

0
0

0
0

Fluvoxamine 100-300
Meclobemide 300-600

ง่วงอ่อนเพลีย
กระวนกระวาย
นอนไม่หลับ
คลื่นไส้ วิงเวียน
คลื่นไส้ วิงเวียน

0 ไม่มี + น้อย ++ ปานกลาง +++ มาก

อื่นๆ

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

43

ขนาดในการรักษาและการปรับขนาด

1. เริ่มในขนาดตํ่า เพื่อหลีกเลี่ยงอาการข้างเคียง อาจเริ่มให้
amitriptyline หรือ nortriptyline ขนาด 25-50 mg รับ
ประทานตอนเย็นหรือก่อนนอน
2. เพิ่มขนาดยา 25 mg ทุก 3-4 วันจนได้ขนาด 75 mg
3. รอดูผล 2 สัปดาห์ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้เพิ่มขนาดขึ้นอีกทุก 1
สัปดาห์ โดยไม่ควรเกิน 150 mg ต่อวัน
4. ผูป้ ว่ ยสูงอายุหรือมีโรคทางร่างกายร่วมควรลดขนาดยาลงครึง่
หนึ่ง การปรับขนาดยาควรปรับเพิ่มช้าๆ
5. เนื่องจากยาแก้เศร้าส่วนใหญ่มีคา่ ครึ่งชีวิตยาว จึงสามารถให้
ยาวันละ 1-2 ครั้งได้
6. ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก อาจได้ diazepam 5-10 mg ต่อวัน
ร่วมด้วย หากผู้ป่วยมีอาการวิตกกังวลมากหรือนอนไม่หลับ

ฤทธิ์ข้างเคียง

1. ฤทธิ์ sedation โดยเฉพาะ amitriptyline ซึ่งบางครั้งอาจ
เป็ น ผลดี ใ นผู้ ป่ ว ยที่ มี ปั ญ หานอนไม่ ห ลั บ ส่ ว นใหญ่ ผู้ ป่ ว ย
จะเกิด tolerance ต่อฤทธิ์นี้ ทำ�ให้อาการง่วงซึมลดลงใน
ระยะหลัง
2. ฤทธิ์ anticholinergic ได้แก่ ปากคอแห้ง ท้องผูก แนะนำ�
ให้ดื่มนํ้าบ่อยๆ มักมีอาการตามัวในที่มีแสงสว่างมาก ถ้าสวม
แว่นกันแดดจะช่วยลดอาการได้ หากมีอาการปัสสาวะลำ�บาก
อาจให้ bethanechol 25-50 mg 3-4 ครั้งต่อวัน

44

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

3. ฤทธิ์ด้าน cardiovascular ยา tricyclic ทุกตัวทำ�ให้
conduction time เพิม่ ขึน้ จึงควรเลีย่ งในผูป้ ว่ ยทีม่ ี conduction defect ยาที่ปลอดภัย ได้แก่ ยากลุ่มใหม่
4. ฤทธิ์ยา autonomic ฤทธิ์ postural hypotension พบได้
บ่อยโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ ยา nortriptyline มีฤทธิ์นี้
น้อย แนะนำ�ว่าควรเปลี่ยนอิริยาบถช้าๆ จะช่วยลดภาวะดัง
กล่าวได้
ข. การรักษาระยะต่อเนื่อง (continuation treatment)
1. แม้ผู้ป่วยจะหายจากอาการแล้ว ก็ยังต้องให้ยาต่อเนื่องไปอีก
นาน 4-6 เดือน เพื่อกันการเกิด relapse
2. ยาขนาดเท่าเดิม หรือหากจะลด ไม่ควรลดตํา่ กว่า 2 ใน 3 ของ
ขนาดเดิม
3. เมื่อครบระยะเวลาแล้ว ค่อยๆ ลดยาลง โดยใช้เวลาเป็นเดือน
หากลดเร็วผู้ป่วยมักมี withdrawal effects เช่น หงุดหงิด
นอนไม่หลับ เป็นต้น
ค. การป้องกันระยะยาว (prophylactic treatment)
มีผู้ป่วยบางคนมีประวัติการป่วยมาหลายครั้งในอดีต ผู้ป่วยใน
กลุ่มนี้ควรให้กินยาป้องกันต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลานานเป็นปีๆ โดยทั่วไป
จะให้ยาต่อเนื่อง เมื่อผู้ป่วยมีประวัติอาการที่ชัดเจนของโรคซึมเศร้าอย่าง
น้อย 2-3 ครั้งขึ้นไป

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

45

บรรณานุกรม
1. Cassem EH. Depressive Disorders in the Medically III:
An Overview. Psychosomatics 1995; 36: S2-S210.
2. Greden JF. Antidepressant maintenance medications: when
to discontinue and how to stop. J Clin Psychiatry 1993: 54
(Suppl 8): 39-45.
3. Kasper S, Fuger J, Moeller HJ. Comparative efficacy of
antidepressants. Drugs 1992; 43(Suppl 2): 117-26.
4. Marks JN, Goldberg D, Hillier VF. Determinants of the ability
of general practitioners to detect psychiatric illness. Psychol
Med 1979; 9: 337-53.
5. มาโนช หล่อตระกูล. เภสัชบำ�บัดในโรคซึมเศร้า: แนวการรักษาใน
ปัจจุบัน. สารศิริราช 2538: 47: 745-53.

46

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ภาวะวิตกกังวล
นพ.จุพล สมประสงค์
จิตแพทย์ โรงพยาบาลพหลพยุหเสนา

อาการสำ�คัญ

รูส้ กึ วิตกกังวลต่อเหตุการณ์รอบตัวบางสิง่ บางอย่างทีไ่ ม่สมเหตุสม
ผล จนบางรายกลัวว่าตัวเองจะเป็นบ้า หรือกลัวตาย
มีอาการตึงเครียดของระบบประสาทอัตโนมัตแิ ละกล้ามเนือ้ เช่น
ปวดศีรษะ ตึงต้นคอ หายใจไม่ออก อึดอัด จุกแน่นลำ�คอ เจ็บหน้าอก ใจสั่น
ตกใจง่าย มือเท้าเย็น เหงื่อออก วูบวาบตามลำ�ตัว เสียวแปลบๆ จากศีรษะ
ถึงเท้า หงุดหงิดอ่อนเพลียง่าย นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ

การวินิจฉัยและการวินิจฉัยแยกโรค

1. โรคทางกายที่ แ สดงอาการออกมาเป็ น ภาวะวิ ต กกั ง วล
(anxiety disorder due to a general medical condition)
ที่พบได้บ่อย เช่น
 ischemic heart disease
 cardiac arrhythmias
 anemia
 pulmonary insufficiency
 thyroid dysfunction
 hypoglycemia
 premenstrual syndrome
 chronic infection

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

47

2. ภาวะวิ ต กกั ง วลที่ เ กิ ด จากวั ต ถุ อ อกฤทธิ์ ต่ อ จิ ต ประสาท
(substances induced anxiety disorder) ได้แก่ alcohol
amphetamine caffeine cocaine sympatomimetric
agents และ vasopressor agents เป็นต้น
3. ภาวะวิตกกังวลที่มีสาเหตุจากจิตใจ
3.1 acute stress reaction มีลักษณะดังนี้
 มี stress เข้ามากระทบชัดเจน
 เกิดปฏิกิริยาตอบสนองอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่นาที
 อาการดีขึ้นภายใน 2-3 วัน
3.2 adjustment disorders
 มี stressor ชัดเจน
 เกิดอาการภายใน 1 เดือน
 มีอาการวิตกกังวลไม่เกิน 6 เดือน
3.3 anxiety disorders
 onset ของโรคไม่ชัดเจน
 มีอาการเป็นมานานกว่า 6 เดือน จนไม่สามารถบอก
เหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจได้ชัดเจน
 การแบ่งประเภทขึ้นกับรูปแบบของความกังวล

ประเภทของ anxiety disorders

1. panic disorders
 มี อ าการเกิ ด ขึ้ น กะทั น หั น เป็ น พั ก ๆ โดยอาจจะไม่ มี สิ่ ง
กระตุ้นชัดเจน

48

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

มีอาการตกใจกลัว เหมือนรู้สึกว่าตนเองจะตาย หรือ
ควบคุมไม่ได้ ถ้าเกิดซํา้ บ่อยๆ จะกลัวจนไม่กล้าไปไหนมา
ไหนคนเดียว เพราะกลัวว่าถ้ามีอาการนอกบ้านจะตายไป
โดยไม่มีใครช่วย
2. generalized anxiety disorders
 มีอาการเกิดขึน
้ แบบค่อยเป็นค่อยไป มีอาการอยูค่ อ่ นข้าง
จะตลอดเวลา
 มีความกังวลในทุกเรือ
่ ง ไม่เฉพาะเจาะจง อาการค่อนข้าง
เรื้อรัง
3. phobic disorders
 มีอาการวิตกกังวล กลัวในสิง่ ใดสิง่ หนึง่ หรือ สถานการณ์
ใดสถานการณ์หนึ่งชัดเจน มีอาการตึงเครียดของระบบ
ประสาทร่วมด้วย เช่น กลัวที่แคบ วิตกกังวลในการ
แสดงออกต่อที่สาธารณะ กลัวสัตว์บางชนิดอย่างฝังใจ
เป็นต้น
4. obsessive compulsive disorders
 มีอาการวิตกกังวลยํ้าคิดยํ้าทำ�เป็นอาการเด่น เช่น ยํ้าคิด
ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตลอดเวลา ยํ้าทำ� เช่น ล้างมือบ่อยๆ
มีอาการดังกล่าวมาก จนกระทบกระเทือนการดำ�เนิน
ชีวิตประจำ�วัน
5. post traumatic stress disorders
 มี อ าการวิ ต กกั ง วลเกิ ด ขึ้ น หลั ง ตกอยู่ ใ นเหตุ ก ารณ์ ที่
กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง เช่น อยูใ่ นเหตุการณ์
อุบตั ภิ ยั เพลิงไหม้ การสูร้ บ การถูกทำ�ร้ายร่างกาย การถูก
ข่มขืน เป็นต้น


คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์


49

มักจะมีอาการฝันร้าย คิดวนเวียนในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ไม่มีชีวิตจิตใจร่วมกับอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
ของระบบประสาทอัตโนมัติ อาจมีอาการเศร้า และ
เหม่อลอยร่วมด้วย

การรักษา
1. การช่ ว ยเหลื อ ด้ า นจิ ต ใจ โดยการทำ � จิ ต บำ � บั ด ประคั บ
ประคอง
1.1 สร้างสัมพันธภาพ ใส่ใจในอาการของผู้ป่วย ติดตามเรื่อง
ที่ผู้ป่วยเล่าสรุปสิ่งที่ผู้ป่วยพูด
1.2 ตรวจร่างกายผู้ป่วยอย่างตั้งใจ จริงใจ กระตือรือร้น เพื่อ
การวินิจฉัยแยกโรคทางกาย หากตรวจแล้วร่างกายปกติ
จึงบอกกับผู้ป่วยว่าตรวจไม่พบโรคร้ายแรงอะไร น่าจะ
เกิดจากความไม่สบายใจ
1.3 ให้กำ�ลังใจ ปลอบโยนทั้งผู้ป่วยและญาติด้วยในกรณีที่
ญาติกังวลมาก
1.4 ให้ยาคลายกังวล และยารักษาตามอาการ (ดูในหัวข้อการ
ใช้ยาคลายกังวล)
1.5 ใช้วธิ บี �ำ บัดอืน่ ๆ ร่วมด้วย เช่น การฝึกหายใจ (ดูรายละเอียด
ในบทกลุม่ อาการหายใจหอบถี่ หัวข้อการรักษาระยะยาว)
เพือ่ ช่วยลดอาการหายใจเร็ว หายใจไม่อมิ่ ของผูป้ ว่ ย การ
ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนือ้ ในผูป้ ว่ ยทีม่ อี าการปวดศีรษะ ตึง
กล้ามเนือ้ การฝึกจินตนาการ การฝึกสมาธิ การฝึกคิดใน
ทางบวก (การรักษาด้วยวิธดี งั กล่าว ดูรายละเอียดในคูม่ อื
การดำ�เนินงาน คลินิกคลายเครียดของกรมสุขภาพจิต)

50

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

2. การใช้ยาคลายกังวล
ยาที่นิยมใช้คือ
 กลุ่ม benzodiazepines เช่น diazepam (Valium)
clorazepate (Tranxene) lorazepam (Ativan)
alprazolam (Xanax)
 กลุ่ม beta-blockers เช่น propanolol atenolol
 กลุม
่ antidepressants เช่น amitriptyline (Tryptanol)
imipramine (Tofranil) mianserine (Tolvon) SSRI
(Selective Serotonin Reuptake Inhibitors) เป็นต้น

การเลือกใช้ยาคลายกังวลตามคุณสมบัติ (ดังตาราง)

diazepam ใช้วันละครั้งเดียวก่อนนอน เพราะมี half life
และช่วงเวลาออกฤทธิ์ยาวมาก และควรใช้ก่อนนอนเพราะมี
sedative effect มาก
 clorazepate มีฤทธิ์ง่วงน้อย ให้ในเวลากลางวันได้ โดยอาจ
ให้ขนาดเริ่มต้น 5 mg วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือให้ 10 mg
ก่อนนอนครัง้ เดียว เนือ่ งจากมีชว่ งเวลาออกฤทธิย์ าวปานกลาง
 lorazepam มีฤทธิ์ง่วงซึมมาก ออกฤทธิ์สั้น เหมาะที่จะให้
ก่อนนอนและใช้เป็นยานอนหลับ ไม่มพี ษิ ต่อตับ จึงใช้ในผูป้ ว่ ย
ที่มีปัญหาโรคตับได้
 alprazolam มีฤทธิค
์ ลายกังวลสูงและมีฤทธิง์ ว่ งซึมไม่มากจึง
ควรให้รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง


คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

51

ตารางแสดงคุณสมบัติทวั่ ไปของยากลุม่ Benzodiazepine
ที่ใช้บ่อย
Drug

Dosage
Form (mg)

Half life Sedative Duration Anxiolytic Usual
of
effect of action potency adult
metabolit
dose
(hr)
(m/d)

Diazepam

2,5,10

100

มาก

ยาวมาก

ตํ่า

2-60

Clorazepate

5,10

100

น้อย

ยาว

ปานกลาง

10-60

Lorazepam

0.5,1,2

15

มาก

สั้น

สูง

1-6

Alprazolam

.25,0.5

12

ปานกลาง

สั้น

สูง

0.5-6

ลดยาให้น้อยที่สุด ที่คุมอาการได้ ให้นาน 6 เดือน
 หยุดยา ภายใน 4-8 สัปดาห์ โดยลดลงร้อยละ 25 ต่อสัปดาห์
 ให้ยา antidepressant เช่น imipramine 25-75 mg ก่อน
นอนนาน 2-6 เดือน อาการจะดีขึ้นใน 1-2 สัปดาห์ อาจให้
anxiolytic ตามอาการก่อนในช่วงแรกๆ โดยเน้นพวก high
potency เช่น alprazolam
 psychotherapy เพราะว่าจะมีอาการกลัวร่วมด้วย ซึง่ แพทย์
ต้องถามว่าไปไหนคนเดียวได้ไหม ถ้ามีอาการกลัวต้องรีบแก้ไข
โดยด่วน เพื่อป้องกันความพิการทางใจ โดยให้เผชิญกับสิ่งที่
กลัวนั้นโดยตรงและอธิบายให้ญาติเข้าใจด้วย


52

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

3. ผู้ป่วย phobic disorders
 ให้ยา diazepam 2-5 mg ก่อนนอน เป็นครั้งคราวเมื่อ
มีอาการมากและเกิดอาการบ่อย
 ให้ ย ารั ก ษาอาการเศร้ า เช่ น amitriphyline หรื อ
imipramine 25-75 mg ก่อนนอนในรายที่มีอาการ
เศร้าร่วมด้วย
 ให้ยา β-blockers เช่น prepanolol 10-20 mg รับ
ประทาน 1 ชั่วโมง ก่อนเผชิญต่อสถานการณ์ ที่ทำ�ให้
กลัวมากและทราบมาก่อนล่วงหน้า
 การใช้พฤติกรรมบำ�บัดและจิตบำ�บัดประคับประคอง
4. ผู้ป่วย post traumatic stress disorders
1. ต้ องแก้ความเข้าใจผิดของชาวบ้า น เพราะหมอและ
ชาวบ้านมักหลีกเลีย่ งทีจ่ ะพูดถึงเหตุการณ์ในอดีต แพทย์
ต้ อ งพยายามกระตุ้ น ให้ พู ด คุ ย อี ก ในบรรยากาศที่ มี
ความเห็นอกเห็นใจ ปลอดภัย มั่นคง ให้กำ�ลังใจ และ
ที่สำ�คัญต้องชี้แจงให้ญาติเข้าใจ
2. เชิญญาติมาคุยประเด็นเหตุการณ์ในอดีตทีผ่ ปู้ ว่ ยพยายาม
จะลืม โดยถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคน ควรคุยในเรื่องคุณ
งามความดีที่เคยมี เอากลับมาคุยให้เกิดความรู้สึกที่ดี ที่
เอื้อต่อการรักษา เข้าใจ และเห็นใจ
3. พฤติกรรมบำ�บัด แบบเผชิญกับสิ่งที่กลัวโดยตรง เพราะ
ว่าผู้ป่วยมักพยายามเลี่ยงสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่
ทำ�ให้ไม่สบายใจ เราต้องให้เขาเผชิญหน้ากับสถานที่ หรือ
เหตุการณ์ที่ทำ�ให้ไม่สบายใจนั้น

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

53

4. การใช้ยา antidepressant จะใช้ได้ดี เช่น imipramine
25 mg 1 เม็ด และเพิ่มได้อีกถึง 75 mg ก่อนนอน
2 ชั่วโมง หรือ 1 เม็ดเย็น นาน 2-6 เดือน ช่วงที่ให้
antidepressant อาจให้ anxiolytic ร่วมด้วยในระยะ
สั้นๆ เพื่อลดภาวะตื่นเต้นขึ้นมาเองโดยไม่มีเหตุผล เช่น
alprazolam หรือ xanax 0.5-1 mg ก่อนเข้านอน 1-2
สัปดาห์ แล้วหยุดได้เลย หรือให้ prn ทุก 6-8 ชั่วโมง
ขนาด 0.5 mg 1 เม็ด เวลารู้สึกตื่นเต้น
5. นัดหมายเป็นระยะ

54

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

บรรณานุกรม
1. กรมสุขภาพจิต. คู่มือการใช้ระบบจำ�แนกโรคทางจิตเวชและมาตรฐาน
การรักษา (ICD-10 PHC) กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์องค์ก ารสงเคราะห์
ทหารผ่านศึก. 2538;29-32.
2. เกษม ตั น ติ ผ ลาชี ว ะ. ตำ � ราจิ ต เวชศาสตร์ สมาคมจิ ต แพทย์ แ ห่ ง
ประเทศไทย. พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ 2. กรุ ง เทพฯ. โรงพิ ม พ์ ม หาวิ ท ยาลั ย
ธรรมศาสตร์. 2536:10-16.
3. จำ�ลอง ดิษยวณิช. การวินิจฉัยและการใช้ยาทางจิตเวช. พิมพ์ครั้งที่ 1.
เชียงใหม่ : เจริญการพิมพ์ 2531:66-114.
4. ปราโมทย์ สุคนิชย์, มาโนช หล่อตระกูล. คู่มือการวินิจฉัยและการดูแล
รักษาผูป้ ว่ ยโรควิตกกังวล. (ฉบับปรับปรุงครัง้ ที่ 2) กรุงเทพฯ. เอส.ซี.พริน้ ท์,
2540:10-16.
5. Kaplan HI, Sadock BJ, Grebb JA. Synopsis of psychiatry
behavioral sciences clinical psychiatry, 7th ed. Baltimore :
Williams and Wilkins, 1994 : 578-80.
6. World Health Organization. The ICD-10 classification of mental
and behavioral disorders. Clinical descriptions and diagnostic
guidelines : World Health Organization, 1992:132-50.

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

55

ภาวะโรคจิต (Psychosis)
นพ.วีรพล อุณหรัศมี
จิตแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา

ภาวะโรคจิต (psychosis) เป็นภาวะทีพ่ บได้บอ่ ยในผูป้ ว่ ยทางด้าน
จิตเวช อาการที่สำ�คัญและสังเกตได้ง่ายในผู้ป่วยภาวะนี้ ได้แก่
1. อาการประสาทหลอน (hallucinations) ได้แก่ หูแว่ว เห็น
ภาพหลอนหรือ ได้กลิ่นผิดปกติ เป็นต้น
2. อาการหลงผิด (delusions) เป็นความเชื่อมั่นอย่างผิดๆ ซึ่ง
อาจมีได้หลายรูปแบบ เช่น ระแวงว่ามีคนมาทำ�ร้าย คิดว่า
ตนเองเป็นผู้วิเศษ เป็นต้น
3. มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือพฤติกรรมแปลกจากคนปกติ
ทั่วไป
4. มีอาการพูดเพ้อเจ้อ พูดคนเดียว พูดไม่รู้เรื่อง
การวินิจฉัยอาการโรคจิตนั้น เป็นการวินิจฉัยจากกลุ่มอาการ
รวมกัน มิใช่วินิจฉัยตามอาการย่อยใดอาการหนึ่ง ทั้งนี้อาการย่อยที่ปรากฏ
จะต้องมีลักษณะชัดเจนเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาช่วงหนึ่ง หรือเกิดขึ้นบ่อยๆ
และมักจะมีผลต่อพฤติกรรมความคิดและอารมณ์ของผู้ป่วย ทำ�ให้ผู้ป่วยมี
ความบกพร่องในเรื่องการดูแลตนเองตามกิจวัตรประจำ�วัน ความสัมพันธ์
กับคนรอบข้างและมีปัญหาในการทำ�งาน (ในเด็กก็จะมีปัญหาในเรื่องการ
เรียน) หรืออาจต้องรับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

56

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การวินิจฉัยแยกโรคเมื่อผู้ป่วยมีอาการโรคจิตนั้น มุ่งเน้นที่จะให้
แยกโรคที่มีสาเหตุจากทางกายออกไปก่อน เนื่องจากเป็นโรคที่มีสาเหตุ
ชัดเจน รักษาให้หายได้ หรือหากไม่รักษาอาจจะเป็นอันตรายถึงตายได้
เมื่อพิจารณาแยกโรคที่มีสาเหตุจากทางกายไปแล้วนั้นจึงพิจารณาว่าผู้ป่วย
เป็นโรคทางจิตเวชหรือที่เรียกว่า functional psychosis หรือ psychotic
disorders หรือโรคจิต

โรคจิต ชนิด functional psychosis (psychotic disorders)

แต่เดิมเราเคยเชือ่ ว่า function psychosis นี้ มีสาเหตุมาจากความ
บกพร่องของการทำ�งานของจิตใจ ซึง่ ในปัจจุบนั ภายหลังจากทีค่ วามรูใ้ นด้าน
ชีวภาพที่ดีขึ้น ทำ�ให้เราทราบว่าโรคจิตส่วนใหญ่นั้นเป็นโรคอันเนื่องจาก
ความผิ ด ปกติ ข องสารสื่ อ นำ � ประสาทในสมอง (neurotransmitters)
อันได้แก่ dopamine และ 5HT เป็นต้น ส่วนภาวะความเครียดหรือปัญหา
ทางด้านจิตใจนั้นเป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการเห็นเด่นชัดขึ้นหรือกำ�เริบขึ้น

การจำ�แนกโรคจิต

โรคจิตเป็นกลุม่ โรคทีม่ โี รคแยกย่อยออกไปได้หลายโรค เพือ่ ความ
สะดวกในการดูแลผู้ป่วยจึงจะแยกโรคจิตเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1. กลุม่ โรคจิตทีเ่ ป็นเรือ้ รัง โรคทีส่ �ำ คัญในกลุม่ นี้ ได้แก่ โรคจิตเภท
(schizophrenia)
2. กลุ่มโรคจิตที่เป็นชั่วคราวหรือระยะสั้น โรคที่สำ�คัญในกลุ่มนี้
ได้แก่ โรคจิตชั่วคราวและเฉียบพลัน (acute and transient
psychotic disorders)

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

57

โรคจิตเภท (Schizophrenia)

เป็นโรคจิตที่มีอาการเรื้อรัง พบได้ราวร้อยละ 1-2 ของประชากร
ผู้ป่วยอาจมีอาการน้อยๆ มาก่อนเป็นเดือนหรือเป็นปี เช่น อาจจะแยกตัว
เก็บตัวจากที่เคยเข้าสังคม มีพฤติกรรม ความคิด และความเชื่อที่ผิดไป
จากเดิม แต่ยังไม่ถึงขั้นผิดปกติแล้วตามมาด้วยอาการผิดปกติที่เห็นเด่นชัด
ซึง่ ญาติผปู้ ว่ ยมักนำ�ผูป้ ว่ ยมาทีโ่ รงพยาบาลเมือ่ มีอาการรุนแรง แต่ในบางราย
ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงให้เห็นตั้งแต่ต้นเลย
เกณฑ์สำ�คัญที่ใช้วินิจฉัยโรคจิตเภท ได้แก่
1. มีอาการแสดงดังต่อไปนีอ้ ย่างน้อยสองชนิดหรือมากกว่า เป็น
ระยะเวลา 1 เดือน หรือน้อยกว่าถ้าได้รับการรักษา
1) อาการหลงผิด (delusions)
2) อาการประสาทหลอน (hallucinations)
3) พูดจาสับสน
4) พฤติกรรมผิดปกติอย่างชัดเจน หรือการเคลื่อนไหวที่ผิด
ปกติ เช่น นั่งหรือยืนในท่านิ่งๆ หรือ มีพฤติกรรมวุ่นวาย
5) มี อ าการแยกตั ว เอง ไม่ ส นใจตนเองและสิ่ ง แวดล้ อ ม
ไม่ แ สดงอารมณ์ อ อกทางสี ห น้ า อารมณ์ เ ฉยเมย
เคลื่อนไหวเชื่องช้า
ถ้ามีอาการหลงผิดมีลักษณะเป็น bizarre หรือมีหูแว่ว
เป็นเสียงวิจารณ์ผู้ป่วยหรือเป็นเสียงคนสองคนพูดกัน อย่าง
ใดอย่างหนึ่งให้ถืออาการเพียงข้อเดียวในการวินิจฉัย
2. มีความบกพร่องในหน้ าที่ทางสังคม/การงาน ในขณะที่มี
อาการความสามารถในหน้าที่การงาน ความสัมพันธ์กับผู้อื่น
และการดูแลตนเองด้อยลงกว่าความสามารถเดิมก่อนมีอาการ

58

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

3. ผู้ป่วยมีความผิดปกติอย่างน้อย 6 เดือน โดยที่ในช่วงเวลา 6
เดือนนี้จะต้องมีอาการตามเกณฑ์ข้อ 1 อย่างน้อย 1 เดือน
นอกจากนั้นอาจเป็นอาการแอบแฝงหรือมีอาการตามเกณฑ์
ข้อ 1 อย่างชัดเจน
4. ต้องแยกโดย schizoaffective และโรคความผิดปกติทาง
อารมณ์ออกไป
5. ต้องแยกภาวะที่เกิดจากโรคทางกายและการใช้สารต่างๆ
6. ในกรณี ที่ มี ก ารพั ฒ นาการผิ ด ปกติ ผู้ ป่ ว ยต้ อ งมี อ าการ
ประสาทหลอน หรือหลงผิดอย่างน้อย 1 เดือน (อาจน้อยกว่า
นี้ถ้าได้รับการรักษา)

การดูแลรักษา
การดูแลในระยะเฉียบพลัน
 ในกรณีที่ผู้ป่วยวุ่นวายมากให้การดูแลโดยดูในบทพฤติกรรม
ก้าวร้าวอาละวาด
 ในกรณีทผ
ี่ ปู้ ว่ ยไม่วนุ่ วายให้ดแู ลเช่นเดียวกับการดูแลผูป้ ว่ ยใน
ระยะต่อเนื่อง
การดูแลผู้ป่วยในระยะต่อเนื่อง
 ในการดูแลรักษาผูป
้ ว่ ยจิตเภท สำ�หรับแพทย์ทวั่ ไปจะให้ใช้ยา
เป็นหลัก การติดตามดูแลผู้ป่วยให้ประเมินจากอาการโรคจิต
เป็นหลักว่าอาการลดลงหรือไม่ โดยทั่วไปอาการโรคจิตจะดี
ขึน้ หลังจากได้รบั ยาอย่างต่อเนือ่ งอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ เช่น
อาการนอนไม่หลับ อาจเลือกยาที่ออกฤทธิ์ทำ�ให้ง่วงนอนสูง
หรือให้ยานอนหลับในกลุ่ม benzodiazepines ร่วมด้วย

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

59

ยาต้านโรคจิต

ยาต้านโรคจิตทีใ่ ช้กนั ในปัจจุบนั โดยมากจะอยูใ่ นกลุม่ D2-antagonist ขนาดการรักษาให้เทียบกับ chlorpromazine 500-800 mg ต่อวันใน
ขนาดรับประทาน รูปแบบของยาที่ใช้มีทั้งที่ใช้รับประทาน ยาฉีดเข้ากล้าม/
หลอดเลือดดำ� ยาฉีดที่ออกฤทธิ์ระยะยาว

ยาต้านโรคจิตที่ควรทราบ
ขนาดของผู้ใหญ่ต่อวัน (mg)
ผลข้างเคียง
acute
maintainace
chlorpromazine 100-1600 PO 50-500 PO ง่วงนอน
ความดันโลหิตตํ่า
ESP น้อย
25-400 IM
perphenazine
12-64 PO
8-24 PO ง่วงนอน
ความดันตํ่า
ESP น้อย
thioridazine
200-800 PO 100-300 PO ง่วงนอน
ความดันตํ่า
haloperidol
5-20 PO
1-15 PO ESP มาก
ง่วงนอนน้อย
5-20 IM
25-200 IM
(long acting/
1 เดือน

ชื่อ

60

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ข้อสังเกตยาที่มี potency สูง (จำ�นวนมิลลิกรรมที่ให้ต่อวันตํา่ )
มักมีผลข้างเคียง ESP มาก ยาที่มี potency ตํ่าจะมีผลข้างเคียงเรื่องทำ�ให้
ง่วงนอนและความดันโลหิตตํ่าได้

ผลข้างเคียงของยาต้านโรคจิตและการแก้ไข

ให้ดใู นหัวข้อเดียวกันกับบทพฤติกรรมก้าวร้าวอาละวาดหน้าที่ 13

การแนะนำ�ญาติ

1. บอกให้ทราบว่าเป็นโรคเกิดจากสารเคมีในสมองผิดปกติ
2. ผู้ป่วยจำ�เป็นต้องได้รักษาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นโรค
เรื้อรัง
3. ถ้าผู้ป่วยขาดยาอาจมีอาการกลับซํ้า
4. หลังจากการรักษาผู้ป่วยอาจจะมีความสามารถในทุกด้าน
ไม่เท่าเดิม
5. ถ้ามีปัญหาในการรับประทานยาให้ปรึกษาแพทย์

ผลการรักษา

ผู้ป่วยมักกลับเป็นซํ้าหลังจากหยุดยาเป็นเวลานาน ควรชี้แจง
ผู้ป่วยและญาติให้ได้รับยาต่อเนื่อง

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

61

โรคจิตชั่วคราวและเฉียบพลัน
(acute and transient psychotic disorders)

ผู้ป่วยเกิดอาการหลงผิด ประสาทหลอน มีพฤติกรรมและท่าทาง
แปลกๆ พูดจาสับสน อาจมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย และอาจเกิดอาการใด
อาการหนึ่ง หรือเกิดพร้อมๆ กันก็ได้ โดยเกิดอาการกะทันหัน หลังจากที่
ตกอยู่ในเหตุการณ์ที่กดดันหรือตึงเครียดอย่างมาก มีอาการดังกล่าวนานได้
ตั้งแต่ 1 วันถึง 1 เดือน หลังจากนั้นผู้ป่วยจะกลับสู่ภาวะปกติ ควรวินิจฉัย
แยกโรคจากสาเหตุทางกายหรือสารเสพติด

การรักษา

ในช่วงที่มีอาการเฉียบพลัน อาจมีภาวะอันตรายทั้งต่อผู้ป่วยและ
ผูอ้ นื่ อาจจะต้องรับไว้ในโรงพยาบาล (ดูรายละเอียดในบทพฤติกรรมก้าวร้าว
อาละวาด)
เมื่ออาการของผู้ป่วยสงบลงความเข้าใจกับผู้ป่วยถึงจุดที่เปราะ
บางต่อความเครียด หาวิธีจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม และสามารถ
หยุดยาต้านโรคจิตได้
หากอาการของโรคดำ�เนินไปนานกว่า 1 เดือน โดยที่ได้ให้การ
รักษาเต็มทีแ่ ล้ว การวินจิ ฉัยอาจจะต้องเปลีย่ นไปเป็นโรคจิตชนิดเรือ้ รัง หรือ
ค่อนข้างเรื้อรัง

62

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

บรรณานุกรม
1. จำ�ลอง ดิษยวณิช. ยาต้านโรคจิต. ใน:จำ�ลอง ดิษยวณิช, บรรณาธิการ.
การวิ นิ จ ฉั ย และการใช้ย าทางจิตเวช. เชียงใหม่ : เจริ ญ ยิ่ ง การพิ ม พ์ ,
2531:120-74
2. American Psychiatric. Appendix C : Glossary of technical term.
In : Diagnostic and statistical manual of mental disorders. 4th ed.
Washington DC : APA, 1994: 763-71.
3. American Psychiatric Association. Schizophrenia and other
psychotic disorders. In : Diagnostic and statistical manual of
mental disorders. 4th ed. Washington DC : APA, 1994:273-319.
4. Hirsch SR, Barnes TRE. The clinical treatment of schizophrenia.
In : Hirsch SR, Weinberger DR eds. Schizophrenia. : Blackwell
Science. 1995:443-95.
5. Lipton AA, Cancro R. Schizophrenia : Clinical features. In :
Kaplan Hi, Sadock BJ eds. Comprehensive textbook of
psychiatry. 6th ed. Baltimore : William & Wilkins. 1995 : 965-87.
6. Schulz SC. Schizophrenia : Somatic treatment. In : Kaplan Hl,
Sadock BJ eds. Comprehensive textbook of psychiatry. 6th ed.
Baltimore : William & Wilkins, 1995 : 987-98.
7. Siris SG, Lavin MR. Schizoaffective disorder, schizophreneiform
disorder and brief psychotic disorder. In : Kaplan HI, Sadock BJ
eds. Comprehensive textbook of psychiatry. 6th ed. Baltimore
: William & Wilkins. 1995 : 1019-30.

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

63

ปวดศีรษะ (Headache)
พญ.อรวรรณ ศิลปกิจ
ประสาทอายุรแพทย์ โรงพยาบาลศรีธัญญา

1. ปวดศีรษะครั้งแรก

การวินิจฉัยและรักษา ดังแผนภูมิ
ระยะเวลาที่เกิดอาการ (onset)

เกิดขึ้นทันที

เป็นมากขึ้นภายในชั่วโมงหรือเป็นวัน ค่อยๆ เป็นภายในสัปดาห์หรือเป็นเดือน

มีอุบัติเหตุ

ไม่มี

มีอุบัติเหตุ

ไม่มี อ่านเรื่องปวดศีรษะเรื้อรัง

ตรวจคอแข็ง

อาจจะเป็น SDH** ตรวจคอแข็ง
มี
ไม่ม ี
มี
ไม่มี
CT scan
CT scan ตรวจร่างกายระบบประสาท
อาจจะเป็น SAH* ตรวจร่างกายทางระบบประสาท LP
ปกติ
ผิดปกติ
เพื่อ R/O
ก ผิดปกติ
ข ปกติ Meningitis/
ตรวจ CT scan
slowbleed
ถาม
ประเมิน
cerebella
ประวัติ
ทางระบบ
tumor
อื่นๆ
ประสาท
เจาะตรวจนํ้าไขสันหลัง
ให้ครบถ้วน
CT/MRI

อายุกรรม
ค มีประวัติชัดเจน

ปรึกษาประสาทอายุรแพทย์
หรือประสาทศัลยแพทย์

ปวดศีรษะ
ง ถามประวัติใหม่

ตรวจ ESR โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
เพื่อวินิจฉัย Temporal arteritis

จ ทำ�ฟัน

64

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ก. ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะครั้งแรกที่มีหลักฐานยืนยันว่ามี
ปัญหาภายในสมอง เช่น เลือดออก หรือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
หรือภาวะ acute hydrocephalus ต้องมีการตรวจประเมิน
ทางสมองให้ครบถ้วน
ข. ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะอย่างเฉียบพลัน ซึ่งไม่พบความผิด
ปกติใดๆ ควรจะต้องมีการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
ค. โรคทางกายหลายอย่างมักจะมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วยเสมอ
เช่น ความดันโลหิตสูง โรคติดเชือ้ ทางเดินหายใจล้มเหลว หรือ
จากผลข้างเคียงของยาบางชนิด ภาวะเครียดทั้งร่างกายและ
จิตใจก็จะทำ�ให้เกิดอาการปวดศีรษะโดยฉับพลันได้
ง. ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะพร้อมกับการตรวจพบอาการทาง
สมองที่ผิดปกติ เช่น ไมเกรน ควรจะได้รับการตรวจอย่าง
ละเอียด ในผู้ป่วยหญิงอาจจะมีปัญหาเรื่อง SLE ที่มีอาการ
คล้ายคลึงกับ migraine ได้
จ. นอกจากนี้ ความผิดปกติของ temporomandibular joint
อาจจะทำ�ให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ โดยเฉพาะผู้ที่ผ่านการ
ทำ�ฟันมาไม่นาน หรือผู้ที่มีการกัดฟันตอนหลับ จะตรวจพบ
การกดเจ็บบริเวณข้อต่อดังกล่าวได้
*SAH
**SDH

= Subarachnoid hemorrhage
= Subdural hematoma

65

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

2. ปวดศีรษะเรื้อรัง

การวินิจฉัยและการรักษาดังแผนภูมิ
ก การดำ�เนินโรค

เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ

เป็นๆ หายๆ

ข มีอาการทางระบบประสาท
ไม่มี ค

ฉ มี

ข ประเมินอาการวิทยา
ปวดข้างเดียว

ปวดทั้งสองข้าง

ตรวจ neurologic ปวดขมับแบบตื้อๆ เป็นทั่วๆ ไป หรือ ต้นคอหรือท้ายทอย
exam
เฉพาะหน้าผากกับขมับ
Cervical spondylosis
นึกถึง TMJ*, GCA**
ง วัดความดันเลือด
หรือ tension headache
ปวดบีบๆ
ปวดตุ๊บๆ

ตรวจโรคไซนัส

สูง
รักษา
สังเกต

ช common migraine

ปกติ
ผู้สูงอายุ จ

มีปัญหา
ด้านอารมณ์

ไม่มี

ฎ ปวดรอบกระบอกตา

ณ Tension headache
มีอาการนำ�ร่วมกับปวดตุ๊บๆ

ฏ Classic migraine
อาจจะเป็น
Cluster headache เป็นบ่อยๆ
ไม่บ่อย
ตรวจ ESR
(น้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน)

66

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ฎ ปวดรอบกระบอกตา

ผู้สูงอายุ จ

มีปัญหา
ด้านอารมณ์

ไม่มี

อาจจะเป็น
Cluster headache
ตรวจ ESR

อาจจะเป็น
tension headache
ตรวจร่างกาย
ระบบประสาท

ปกติ
สังเกต
รักษาตาม
อาการ

*TMJ
**GCA

ใช้ออกซิเจน
ร้อยเปอร์เซ็นต์
ดมขณะมีอาการ
หรือใช้ cafergot

ฏ Classic migraine
เป็นบ่อยๆ

- ต้องป้องกันอาการ
ให้ amitriptyline
25-50 mg หรือใช้
flunarizine 1-2
cap กินก่อนนอน
- ถ้าเริม่ มีอาการเตือน
ให้ยาแก้ปวดร่วมกับ
ยาแก้อาเจียน อย่า
รอจนปวดมากๆ

ผิดปกติ
ตรวจร่างกาย
ระบบ
ประสาท
ให้ละเอียด

= temperomandibular joint
= Giant cell arteritis

ไม่บ่อย
(น้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน)
กินยาขณะมี
อาการเตือน
ergotamine
(cafergot)
1 เม็ด ไม่เกิน
2 เม็ด/ครั้ง
6 เม็ด/วัน

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

อาการปวดศีรษะเรื้อรัง

67

ก. อาการปวดศีรษะที่เป็นเรื้อรังและรุนแรงมากขึ้น บ่งถึงความ
ผิดปกติที่เฉพาะบางอย่าง เช่น เนื้องอกในสมอง ความดัน
โลหิตที่ยังควบคุมไม่ดีพอ โพรงไซนัสจมูกอักเสบ หรือ ภาวะ
pseudotumor cerebri อาการปวดศีรษะทีเ่ ป็นๆ หายๆ มัก
จะมีสาเหตุทไี่ ม่รนุ แรง เช่น ไมเกรน การหดเกร็งของกล้ามเนือ้
กระดูกคอเสื่อม
ข. ควรซักถามอาการตามัว ซึ่งจะบ่งถึง papilledema หรือ
optic neuritis อาการอ่อนแรงเฉพาะที่ หรือ เห็นภาพซ้อน
ค. ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณไซนัสด้านหน้า และมีอาการอื่น
ของไซนัสอักเสบ ควรรักษาตามอาการ
ง. อาการปวดศีรษะจะพบบ่อยในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควร
ระวัง ถ้าหากความดันควบคุมได้ไม่ดี ควรหาสาเหตุอื่นๆ ของ
การปวดศีรษะ
จ. ในผู้สูงอายุที่มีอาการปวดศีรษะรุนแรงเรื้อรัง โดยเฉพาะเป็น
เพียงข้างเดียว ควรนึกถึง Giant cell arteritis หรือที่รู้จัก
ในนาม temporal arteritis ซึ่งมีโอกาสลุกลามทำ�ให้ตาบอด
ได้ การตรวจ ESR จะสูงกว่าปกติ (50 mm/hr) เส้นเลือด
temporal artery อาจจะกดเจ็บได้
ฉ. ผูท้ มี่ อี าการและอาการแสดงทางระบบประสาท ควรได้รบั การ
ตรวจทางระบบประสาทอย่างละเอียด
ช. ควรมีความรูเ้ กีย่ วกับอาการวิทยา การดำ�เนินโรคของการปวด
ศีรษะชนิดต่างๆ ซึง่ ส่วนใหญ่จะสามารถวินจิ ฉัยได้เพียงอาศัย
ประวัติที่ดีครบถ้วน เช่น การวินิจฉัย ไมเกรน หรือ tension
การตรวจร่างกายระบบประสาทจำ�เป็นต้องกระทำ�เสมอใน

68

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ผูป้ ว่ ยเหล่านี้ แม้วา่ มักจะไม่พบการตรวจทีผ่ ดิ ปกติกต็ าม ถ้าหาก
พบต้องตรวจให้ละเอียด การวินิจฉัยในข้อนี้จะผิดพลาดได้
ซ. ปกติ common migraine มักจะไม่เกี่ยวข้องกับ classical
migraine ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่มีอาการเตือน อาการปวดศีรษะ
ลักษณะปวดตุ๊บ อาจจะเกิดขึ้นทั้งสองข้าง เป็นอยู่นานได้ถึง
หลายชั่วโมง
ฌ. tension หรือการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อ การปวดชนิดนี้มัก
เกี่ยวข้องกับความเครียด การรักษาควรให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงเหตุ
ของโรค การผ่อนคลายกล้ามเนือ้ หรือการใช้ยา antidepressant ขนาดตํ่าๆ เช่น amitriptyline
ฎ. Cluster headache มักจะเกิดขึ้นบริเวณศีรษะข้างเดียว
ตัวกระตุน้ ได้แก่ สุรา อาการมักจะเกิดขึน้ ตอนกลางคืน ผูป้ ว่ ย
มักจะกระสับกระส่าย มีนํ้าตาไหล หรือคัดจมูกได้ ระยะเวลา
ที่ปวดมักจะเป็นอยู่นานเป็นชั่วโมง หรือ 2 ชั่วโมง อาการมัก
จะเป็นติดๆ กันทุกคืน เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน
ฏ. Classic migraine มักจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มัก
จะมีอาการปวดเพียงข้างเดียว มีอาการนำ�เช่น เห็นแสงยิบยับ
(sparkling dots) หรือ มีจุดบอดในภาพ (scotoma) หรือ
ลานสายตาผิดปกติ (visual field defect) มักจะมีประวัติใน
ครอบครัว

บรรณาธิการ

Strub RL. Initial headache and Chronic headache. In: Weisberg LA,
Strub RL, Gracia CA., ed. Decision Making in Adult neurology.
Toronto : Manlygraphic Publishers Pte, 1987:8-11.

69

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ความจำ�เสื่อม (Dementia)
พ.ญ.อรวรรณ ศิลปกิจ
ประสาทอายุรแพทย์ โรงพยาบาลศรีธัญญา

อาการนำ�

ผู้ป่วยมักมีปัญหาพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เป็นเวลานาน การวินิจฉัย ตามแผนภูมิ
มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างเรื้อรัง
ซักถามอาการเศร้า
มี
ตรวจสภาพจิต
ไม่พบ organic sign

อาจจะเป็นโรคซึมเศร้า

ไม่มี
มีประวัติการเจ็บป่วย
หรือการใช้ยา
การตรวจสภาพจิต
พบ organic signs
อาจจะเป็น dementia

มีปัญหาหรือใช้ยา

ไม่ดีขึ้น
ปกติ

อาจจะพบได้
ในคนแก่ปกติ
หรือมีปัญหาทาง
ตรวจร่างกายทางระบบประสาท
อารมณ์

รักษาตามอาการ
ดีขึ้น
metabolic
or Toxic
encephalopathy

70

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ก ตรวจร่างกายทางประสาท
ผิดปกติ

ปกติ

Ataxia + urinary Focal neurologic Chorea
incont.
signs
(Family Hx)

Hydrocephalus ค Mass lesion Huntington’s
or MID
Chorea
Shunt or repeat LP

Myoclonic Optic
Atrophy
jerks and
Parkinsonian
features
Neurosy

Creutzfelds- มีหลักฐานของ ติดสุรา
Jakob disease เยือ้ หุ้มสมองอักเสบ
alcohol
dementia

EEG
ไม่มี

ตรวจหา
TSH, VDRL, TPHA, B12
ให้ผลบวก

มี

ให้ผลลบ
LP

อาจจะเป็น Myxedema, Sy, Vit def

ง Alzheimer’s หาเชื้อรา หรือ syphilis

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

คำ�อธิบาย

71

ก ความผิดปกติของการตรวจ หมายถึง snout grasping gabellar primitive frontal release signs ผูป้ ว่ ยทีม่ อี าการหลงลืม
ควรได้รบั การตรวจ CT การตรวจหา VDRL, TPHA การตรวจ
เลือดอื่นๆ เช่น หน้าที่ต่อมธัยรอยด์ ระดับวิตามินบี 12 ใน
เลือด
ข ในภาวะ communicating hydrocephalus มักจะเรียกกัน
ว่า normal pressure hydrocephalyus อาการของความ
จำ�เสื่อมมักจะไม่มาก การทำ� CT และการตรวจนํ้าไขสันหลัง
จะสามารถวินิจฉัยอาการดังกล่าวได้ แต่ผู้ป่วย Alzheimer’s
disease (AD) ที่มีอาการของ myelopathy จาก กระดูก
ต้นคอเสื่อม อาจจะมีอาการคล้ายคลึงกับภาวะนี้ได้
ค การตรวจ CT หรือ MRI สามารถวินิจฉัยแยกโรคเนื้องอก
หรือมีก้อนเลือดในสมอง หรือฝีในสมองออกจากกันได้ ส่วน
MID (Multi-infarction dementia) จากประวัติอาจจะพบ
อาการทีเ่ ลวลงเป็นลำ�ดับทีส่ งั เกตได้ โดยทีค่ วามจำ�ยังไม่เสือ่ ม
มากเหมือนใน AD แต่จะตรวจพบอาการแสดงของทางระบบ
ประสาทผิดปกติได้
ง AD เป็นกลุม่ ของความจำ�เสือ่ มทีพ่ บได้บอ่ ยทีส่ ดุ ปัญหาทีญ
่ าติ
นำ�มาพบแพทย์ มักเป็นปัญหาพฤติกรรม อารมณ์
การรักษา รักษาตามสาเหตุ

บรรณานุกรม

Cunning J. An approach to dementia. 1988.

72

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การดูแลรักษา

ผู้ติดสารเสพติด

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

73

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
การรักษาผู้ติดสารเสพติด
นพ.วิเชียร ดีเป็นธรรม
จิตแพทย์ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

1. ลักษณะปัญหาการเสพติดสารเสพติด

มีลักษณะเป็น chronic BIO-PSYCHO-SOCIAL illness
 ด้านร่างกายเกิดความเสือ
่ มโทรม ก่อเกิดโรคจากฤทธิข์ องสาร
เสพติดและวิธีการเสพสารนั้น
 ด้านจิตใจ นิสัย ความคิดความอ่านของผู้เสพติดเปลี่ยนแปลง
ในทิศทางที่เสื่อมลง
 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความสามารถและความรับ
ผิดชอบต่อหน้าที่ต่างๆ บกพร่อง
 ด้านสังคม เกิดอาชญากรรม ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ผิด
กฎหมายทั้งด้านการเสพ ครอบครอง การจำ�หน่าย การผลิต
และการขนส่ง

2. สาเหตุที่ท�ำ ให้เกิดปัญหาการติดสารเสพติด
2.1 ตัวผู้เสพเอง
1) กรรมพันธุ์ เป็นตัวกำ�หนดสภาพและระบบการทำ�งาน
ของร่างกายแต่ละคนซึ่งทำ�ให้มีความยากง่ายในการติด
สารเสพติดต่างๆ ไม่เท่ากัน

74

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

2) อายุ วัยรุ่นมีโอกาสติดสารเสพติดมากกว่า
3) บุคลิกภาพ ลักษณะบางอย่างอาจทำ�ให้ตดิ สารเสพติดได้
ง่ายขึ้น เช่น กังวลง่าย ปรับตัวยาก ชอบพึ่งคนอื่น เก็บ
กดอารมณ์ เป็นต้น
4) มี ปั ญ หาสุ ข ภาพกายและใจ ซึ่ ง อาจเป็ น ตั ว ชั ก นำ � ให้
บรรเทาอาการด้วยวิธีใช้สารเสพติด
5) ความเครียดหรือความทุกข์ในชีวติ การงานหรือครอบครัว
อาจเป็นสาเหตุชักนำ�ได้เช่นเดียวกัน
6) อิทธิพลจากเพื่อน มีผลในกลุ่มวัยรุ่นมาก
2.2 สารเสพติด มีหลายชนิดที่มีอำ�นาจการเสพติดสูงมากเพียง
เสพไม่กี่ครั้งก็ติด เมื่อหยุดเสพก็เกิดอาการทุกข์ทรมานมาก เมื่อเสพก็มี
อาการเปลี่ยนแปลงทางจิต ประสาทในทิศทางที่ตรงกับจริตของเขา ทำ�ให้
ง่ายต่อการติดแต่ยากต่อการเลิก
2.3 สภาพแวดล้อม เช่นค่านิยมและวัฒนธรรมที่ยอมรับหรือต่อ
ต้านการเสพสารเสพติด การโฆษณาชักจูง รูปแบบการใช้เวลาในสังคม ความ
แข็งแกร่งของสถาบันพื้นฐานทางสังคม เช่น ครอบครัว โรงเรียน

3. การวินิจฉัยการติดสารเสพติด

มีหลายเกณฑ์วนิ จิ ฉัย ในทีน่ ใี้ ช้เกณฑ์ตามสมาคมจิตแพทย์อเมริกนั
ทีเ่ รียกว่า Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (Third
Edition-Revised) หรือที่รู้จักในชื่อย่อว่า DSM-III-R การติดสารเสพติด
จะต้องเข้าเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อ ได้แก่

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

75

3.1 มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 3 ข้อ
1) เสพสารฯ โดยใช้ปริมาณมากกว่าและในระยะเวลานาน
กว่าที่ตั้งใจไว้
2) มีความต้องการเสพอยู่เสมอ หรือเคยพยายามลดขนาด
หรือควบคุมการเสพ แต่ล้มเหลว
3) สูญเสียเวลาอย่างมากเพือ่ กระทำ�การให้ได้สารนัน้ มาเสพ
หรือ ฟื้นตัวจากฤทธิ์ของสารนั้น
4) เกิดอาการมึนเมาหรืออาการถอนบ่อยๆ ในห้วงเวลาที่
ต้องรับผิดชอบภารกิจหลักๆ ของชีวิต (เช่นไม่ไปทำ�งาน
เนือ่ งจากเมาค้าง หรือไม่ดแู ลเด็กเล็กในความรับผิดชอบ
เนือ่ งจากเมายา) เสพสารนัน้ แม้รอู้ ย่างแจ้งชัดว่าจะก่อให้
เกิดอันตรายต่อร่างกาย (เช่น ขับรถขณะมึนเมา)
5) ไม่ใส่ใจหรือลดความใส่ใจในอาชีพการงาน การเข้าสังคม
เนื่องจากเสพสารนั้น
6) ยั ง คงเสพสารนั้ น ต่ อ ทั้ ง ๆ ที่ รู้ ว่า เป็ น เหตุ ใ ห้ เ กิ ด ความ
เสียหายต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม (เช่น ยังคงเสพ
เฮโรอีนต่อทั้งๆ ที่เกิดทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว
จากเรื่องนี้)
7) เกิดภาวะดื้อยา (ต้องเสพปริมาณเพิ่มขึ้นเพื่อได้ฤทธิ์ยา
หรือเมาเท่าเดิม หรือสารเท่าเดิมกลับได้ฤทธิ์ยาหรือเมา
น้อยลง)
8) มีอาการถอนยา (ในแบบเฉพาะต่อสารนั้นๆ)
9) มักเสพสารนั้นเพื่อลดหรือเลี่ยงอาการถอนยา

76

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

3.2 เกิดอาการดังกล่าวเป็นระยะเวลานานกว่าหนึง่ เดือน หรือเกิด
ซํ้าแล้วซํ้าเล่าในระยะเวลานานกว่านั้น
หมายเหตุ
1) อาการในเกณฑ์ข้อ 3.1 สามารถแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ
a. loss of control (ข้อ 1, 2, 4, 6)
b. compulsiveness and preoccupation (ข้อ 3, 5)
c. physiological dependence (ข้อ 7, 8, 9)
2) กลุ่มอาการหลักของการเสพติดคือ loss of control

4. จุดมุ่งหมายในการรักษาผู้ติดสารเสพติด

4.1 หยุดใช้สารเสพติด ที่ดีที่สุดคือเลิกขาด ถ้าทำ�ไม่ได้ก็ขอให้มี
ระยะ ไม่ใช้สารเสพติดนานที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้
4.2 ฟื้นฟูสุขภาพกายและใจให้ได้ระดับสูงสุดที่ทำ�ได้
4.3 ปลอดจากอาชญากรรม
4.4 ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
4.5 มีชีวิตประจำ�วันเป็นปกติสุข
4.6 มีงานทำ�ในระดับที่เหมาะสม และสามารถเลี้ยงชีพตนได้

5. ขั้นตอนการรักษาผู้ติดสารเสพติด

มีขน้ั ตอนซึง่ เป็นมาตรฐานในการรักษาผูต้ ดิ สารเสพติด 4 ขัน้ ตอนคือ
5.1 ขั้นเตรียมการ (Preadmission)
เป็นระยะทีท่ �ำ ประวัติ บันทึกข้อมูล ตรวจหลักฐานผูป้ ว่ ย และ
การเตรียมผูป้ ว่ ยให้เข้าใจกระบวนการรักษา กฎระเบียบ การรับประทานยา

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

77

การตรวจปัสสาวะ การขาดงาน การลางาน ตระเตรียมรวบรวมข้อมูลผู้ปว่ ย
ทั้งด้านสังคมและจิตวิทยา ตลอดจนการตรวจสภาพร่างกายทางการแพทย์
เพื่อประกอบการดูแลรักษาขั้นต่อไป รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง
กัน สร้างแรงจูงใจในกระบวนการรักษาแก่ผู้ป่วย (ขั้นนี้ใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน)
5.2 ขั้นถอนพิษ (Detoxification)
เป็ น ระยะที่ ดำ � เนิ น การปรั บ สภาพผู้ ป่ ว ยทั้ ง ร่ า งกายและ
จิตใจ จากสภาพผู้ติดยาให้พ้นจากสภาพเดิม ให้วิธีการทางการแพทย์รักษา
อาการทางกาย (withdrawal symptoms) ส่วนปัญหาทางจิตใจ สังคม
ก็จะจัดโปรแกรมหรือมีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความชำ�นาญ แนะนำ�ช่วยเหลือ
ตามความเหมาะสม (ขั้นตอนนี้ใช้เวลาไม่เกิน 45 วัน) เพื่อให้พ้นระยะ
withdrawal syndrome โดยไม่ถอนตัวจากโปรแกรมไปก่อน
5.3 ขั้นฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation)
เมื่อผ่านขั้นถอนพิษยาแล้ว อาการทางกายของผู้ป่วยจะหาย
ไปเกือบหมด แต่ที่ยังคงเหลือค้างมาถึงระยะนี้คือ นิสัย จิตใจแบบผู้ติดสาร
เสพติด และกลุ่มเพื่อนที่ติดสารเสพติดจะมาชักชวนดึงกลับสู่สภาพเดิม
นอกจากนัน้ ปัญหาทีเ่ คยก่อกรรมทำ�ไว้กบั ครอบครัว เพือ่ นบ้าน สังคม ก็มใิ ช่
ว่าทุกคนจะอภัยให้ หายโกรธ หายรังเกียจเป็นปลิดทิ้งเมื่อเข้ารับการรักษา
ปัจจัยทัง้ 3 นี้ จะเป็นตัวดึงผูป้ ว่ ยให้กลับไปเสพสารเสพติดอีก ต้องแก้ไขโดย
วิธีทางจิตสังคม นอกจากนั้นบางคนอาจจะยังคงมีโรคอื่นอยู่ในตัวที่ไม่ได้
หายไปพร้อมกับการถอนพิษยาเสพติด ซึ่งจะต้องดูแลทางการแพทย์ต่อไป
(ขั้นตอนนี้ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน) ดังนั้นจึงควรให้การปรึกษาแก่ญาติ
ด้วยเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการประคับประคองให้กำ�ลังใจผู้ป่วยต่อการ
เลิกสารเสพติด

78

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

5.4 ขั้นติดตามผล (Follow up)
เมื่อผ่าน 3 ขั้นตอนแรก ผู้ป่วยก็จะปลอดยาเสพติดไประยะ
หนึ่ง รวมทั้งปัญหาทางร่างกาย จิตใจ สังคมก็ถูกปรับแก้ไขไปบางส่วน ถึง
ขั้นตอนนี้ เขาก็จะได้กลับไปมีชีวิตอย่างคนทั่วไปในชุมชนของเขา แต่ปัญหา
ทางนิสัยและจิตสังคมเดิมๆ ที่เคยเป็นก็อาจหวนกลับมาอีกได้ จึงต้องมีการ
ติดตาม เพือ่ ช่วยเหลือ กำ�กับ เป็นระยะเพือ่ ไม่ให้ผดิ พลาดกลับไปยังเส้นทาง
ชีวิตเดิม (ขั้นตอนนี้ใช้ระยะเวลา 1-2 ปี)
หากพ้น 4 ระยะไปได้ ก็มีโอกาสหายขาดพอสมควร

บรรณานุกรม
1. บรรจง สื บ สมาน. โรคติดสารเสพติดและโรคพิ ษ สุ ร าเรื้ อ รั ง . ใน :
นายแพทย์เกษม ตันติผลาชีวะ. ตำ�ราจิตเวชศาสตร์ สมาคมจิตแพทย์
แห่งประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ สอง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์, พ.ศ. 2536; หน้า 618-626.
2. ทรงเกียรติ ปิยะกะ. Addiction medicine for medical students.
เอกสารประกอบการสอนนั ก ศึ ก ษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2540 : หน้า 4.
3. Kaplan HI, Sadock BJ. Alcoholism. In : Kaplan HI, Sadock
BJ, eds. Synopsis of psychiatry : Behavioral sciences clinical
psychiatry. 6th ed. Baltimore : William & Wilkins, 1991 : 282.

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

79

การดูแลรักษาผู้ติดสาร
กลุ่มแอมเฟตามีน (ยาบ้า)
น.พ.วิเชียร ดีเป็นธรรม
จิตแพทย์ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

อาการทางคลินิก

ภาวะพิษเฉียบพลัน ภาวะนี้เกิดจากการใช้ยาบ้านี้เกินขนาด
แสดงออกได้หลายรูปแบบ
1. amphetamine delirium
การวินิจฉัย
(1) มีอาการทางคลินิกแบบ delirium
(2) มีประวัติที่น่าเชื่อว่าจะเสพยาบ้าจำ�นวนมากๆ มาก่อน
หรือตรวจปัสสาวะพบ amphetamine หรือสารจำ�พวก
เดียวกัน
การรักษา เช่นเดียวกับ delirium ทัว่ ไป แต่ตอ้ งระวังภาวะ
พิษเฉียบพลันอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วย
2. ภาวะชัก
3. ภาวะความดันโลหิตสูง
4. ภาวะไข้สูง
5. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจพบได้ตงั้ แต่ sinustachycardia,
ventricular tachycardia, ventricular fibrillation แต่บางครัง้
อาจพบ sinus bradycardia ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวของ
ร่างกายในช่วงความดันโลหิตสูง

80

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การรักษา ข้อ 2-5 รักษาเหมือนผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ทั่วไป
6. acute psychosis มักมีอาการหวาดระแวงเป็นหลัก ถ้าเป็น
มาก อาจเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผูอ้ นื่ ได้ ภาวะนีม้ กั พบใน
ผู้เสพยาบ้าต่อเนื่องจนไม่ได้นอนติดต่อกัน 2-3 วันขึ้นไป การ
รักษาเช่นเดียวกันกับโรคจิตเฉียบพลันอื่น ยาที่มักเลือกใช้คือ
haloperidol 5 mg IM โดยให้ในทำ�นองเดียวกันกับผู้ป่วย
โรคจิตทัว่ ๆ ไป อาจให้ diazepam 10 mg IV เพิม่ เพือ่ ให้ผปู้ ว่ ย
หลับเร็วขึ้น โดยทั่วไปถ้าผู้ป่วยได้หลับเต็มที่ ภายหลังตื่นขึ้น
มามักมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และมักหายได้ในเวลา
ไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ แต่ต้องระวังว่าผู้ป่วยอาจก่อความรุนแรง
ได้ตลอดเวลาที่ยังคงมีอาการหวาดระแวง หากผู้ป่วยมีอาวุธ
หรื อ จั บ ตั ว ประกั น ไม่ ค วรจะจั ด การเอง ควรจะเรี ย กหา
ผู้ชำ�นาญการ คือตำ�รวจ หรือหน่วยรักษาความปลอดภัย
ให้ควบคุมผูป้ ว่ ยอยูใ่ นสภาพทีไ่ ม่อาจก่อความรุนแรงต่อตนเอง
และผู้อื่นก่อนแล้วจึงให้การรักษาต่อ
ในรายที่มีอาการโรคจิตต่อเนื่องนานผิดปกติ ให้สงสัยว่า
ผูป้ ว่ ยอาจมีโรคจิตชนิดใดชนิดหนึง่ แฝงอยูก่ อ่ นแล้วถูกกระตุน้
ให้แสดงอาการออกมาชัดแจ้งขึ้นจากฤทธิ์ยาบ้า
7. catecholaminergic effect เช่น ใจสั่น มือสั่น เหงื่อแตก
สามารถรักษาด้วยยา b-blockers ในรายที่มีอาการเครียด
วิตกกังวล ให้ใช้ยากลุ่ม benzodiazepines
8. ภาวะอื่นๆ ที่พบได้ไม่บ่อย เช่น ปวดหน้าอก (angina pain)
เลือดออกในสมอง rhabdomyolysis ไตวายเฉียบพลัน
แม้พบได้ไม่บ่อยก็ควรระลึกเสมอว่าอาจจะมีภาวะเหล่านี้

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

81

เกิดขึ้นได้เพื่อให้การวินิจฉัยรักษาได้ทันท่วงที การทำ�ให้
ปัสสาวะเป็นกรดด้วย ammonium chloride 2.75 mEq/kg
หรือ ascorbic acid 8 mg/day จนทำ�ให้ปัสสาวะมี pH
ตํ่ากว่า 5 จะช่วยเพิ่มการขับถ่ายของยาได้ แต่ต้องระวังใน
บางรายที่มีภาวะเป็นกรด (metabolic acidosis) หรือมี
myoglobinuria อาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะทำ�ให้
เกิดภาวะเป็นกรดมากขึ้น และ myoglobin ไปตกค้างอยู่ใน
ไตมากขึ้น
การถอนพิษยาบ้า
เป็ น การรั ก ษาในช่ ว งที่ ผู้ ป่ ว ยเริ่ ม อดยาบ้ า ซึ่ ง อาการถอนยา
บางอย่างอาจเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ ยากลุ่มที่มัก
เลือกใช้ คือ antidepressants, antipsychotics, anxiolytics รักษาตาม
อาการที่ผู้ป่วยเป็นตามระยะดังต่อไปนี้ (ส่วนมากอาการที่เกิดขึ้นมักไม่เด่น
ชัดเหมือนอาการถอนยาของพวก opioids)
1. crash period เกิดระยะแรกหลังหยุดยาทันทีประมาณ
9 ชั่วโมง จนถึง 4 วัน มีอาการ
1.1 อาการรู้สึกไม่เป็นสุข (dysphoria) ซึมเศร้า พิจารณา
เลือกให้ antidepressants ที่ อ อกฤทธิ์ ก ระตุ้ น เช่ น
amineptine 100 mg หรือ nortryptyline เป็นต้น
1.2 อาการเครียด หงุดหงิด กระวนกระวาย พิจารณาเลือกให้
anxiolytics ที่ออกฤทธิ์เร็ว และสั้นๆ เช่น lorazepam
(1 mg) หรือ alprazolam (0.5 mg) 1 tab qid หรือ
อาจเลื อ กให้ antipsychotics ที่ มี ฤ ทธิ์ sedation
สูงในขนาดตํ่าๆ เช่น thioridazine (25 mg) หรือ
chlorpromazine (25 mg) 1 tab bid เป็นต้น ควร

82

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ให้ยาในระยะสั้นๆ เพราะต่อมาผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ
อ่อนเพลีย เมื่อยล้า รู้สึกง่วงนอน หิวมาก และอาการ
อยากยาจะค่อยๆ ลดลง
1.3 อาการอยากยา (craving) ส่วนมากการรักษาในข้อ 1.1
และ 1.2 จะช่วยได้มากพอสมควร บางรายที่มีอาการ
รุนแรงจนก้าวร้าวอาละวาด ให้รักษาเช่นเดียวกับกรณี
amphetamine psychosis ความก้าวร้าวรุนแรงที่
เกิ ด ขึ้ น นี้ อ าจมี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ การลดตํ่ า ลงของ
serotonin ในสมอง พิจารณาให้ยาเพิ่ม serotonin
ในสมอง เช่น fluoxetine อาจได้ประโยชน์
2. withdrawal period เกิดหลังจากระยะแรกจนถึงประมาณ
10 สัปดาห์ ยังมีอาการเครียด อ่อนเพลียอยูบ่ า้ ง การนอนหลับ
และอารมณ์จะค่อยๆ กลับเข้าสูภ่ าวะปกติ ยังมีอาการอยากยา
มากเป็นพักๆ ถ้ามีสิ่งกระตุ้น เช่น เพื่อนพูดชักชวน เห็นผู้อื่น
เสพยา จะมีอาการอยากยาที่รุนแรงได้
ให้ยาตามลักษณะอาการทางคลินิกที่ประเมินจากผู้ป่วย
แต่ละราย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจำ�เป็นต้องใช้ยาช่วยในช่วงนี้
ประมาณ 2-4 สัปดาห์ อาการต่างๆ ก็มกั จะเหลือน้อยจนหยุด
ยาได้
การรักษาโรคแทรกซ้อนและโรคที่พบร่วมกับการติดยาบ้า
1. โรคทางด้านจิตใจ ที่มักพบร่วมด้วย ได้แก่ โรคซึมเศร้า
โรคประสาทวิ ต กกั ง วล โรคอารมณ์ แ ปรปรวนแมเนี ย
โรคหวาดระแวง โรคจิต ซึ่งมีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง
นอกจากนีย้ งั พบบุคลิกภาพทีผ่ ดิ ปกติ เช่น บุคลิกต่อต้านสังคม
บุคลิกแบบฮิสทีเรีย บุคลิกแบบ schizoid

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

83

การรักษา ใช้วิธีการรักษาการติดยาเสพติดดังกล่าวมา
แล้ว ร่วมกับการรักษาภาวะผิดปกติทางด้านจิตใจ ถ้าหากคิด
ว่าความผิดปกติทางจิตนัน้ เป็นสาเหตุของการติดยา เพือ่ มิให้
กลับไปติดซํ้าด้วยเหตุเดิมอีก
2. โรคทางกาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ คือ วิธีการเสพ ปริมาณที่
ใช้ระยะเวลาที่ใช้การใช้สารเสพติดอื่นร่วมด้วย โรคที่พบบ่อย
ได้แก่ ภาวะทุพโภชนาการเจริญเติบโตไม่สมวัย มีโอกาสเป็น
โรคทางเพศสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้น ในรายที่ใช้วิธีการฉีดอาจพบ
โรคติ ด เชื้ อ ต่ า งๆ ที่ ม ากั บ การปนเปื้ อ น เช่ น โรคเอดส์
โรคตับอักเสบ การติดเชื้อหนองฝี ปวดบวม หรือลิ้นหัวใจ
อักเสบจากการติดเชื้อ เป็นต้น
ประเด็นอื่นที่ควรทราบ
1. การตรวจหายาบ้าในร่างกายมนุษย์ ตรวจได้หลายแห่ง เช่น
ปัสสาวะ เลือด เหงื่อ แต่นิยมตรวจจากปัสสาวะเนื่องจาก
ตรวจสะดวกและสามารถพบยาบ้าในปริมาณที่สูง
2. ยาบ้าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135/2539
ครอบคลุมสารเคมีถึง 16 ชนิด (ดังตาราง) แต่ที่เสพกัน
แพร่หลายมากที่สุด คือ metamphetamine รองลงมาคือ
amphetamine ปัจจุบันมีการจัดทำ�ชุดตรวจสำ�เร็จรูปโดย
ใช้หลัก immunoassay ต้นทุนประมาณ 100 บาท/test
สามารถอ่านผลได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที การตรวจมุ่งตรวจ
หา methamphetamine แต่จะเกิด cross reaction กับ
สารหลายอย่างเช่น ephredine ได้ ฉะนั้นการแปลผลจึงต้อง
อาศัยประวัติ อุบัติการณ์และอาการทางคลินิกร่วมด้วย

84

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

3. ผลการตรวจทีใ่ ช้ประกอบการดำ�เนินคดีควรส่ง confirm test
จะดีกว่า แต่หากมีข้อจำ�กัดไม่สามารถส่งตรวจยืนยันได้ต้อง
แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ให้พิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีด้วย
4. confirm test คือ วิธีการตรวจที่มีความไวและความจำ�เพาะ
สูง ได้แก่ thin-layer chromatography (TLC) high
performance liquid chromatography (HPLC) gas
chromatography/mass spectrometry (GC/MS)
หน่วยงานที่สามารถตรวจพิสูจน์ยืนยันได้ คือ สำ�นักอนามัย
กรุงเทพมหานคร (ศูนย์วดั ธาตุทอง) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
สถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์ ท หารบก
สถาบั น นิ ติ เวชวิ ท ยา สำ � นั ก งานแพทย์ ใ หญ่ กรมตำ � รวจ
โรงพยาบาลธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ และกรมวิทยาศาสตร์
การแพทย์ เป็นต้น
5. methamphetamine อยูใ่ นร่างกายให้ตรวจพบได้ประมาณ
48 ชั่วโมง

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

85

ตาราง สรุปการเปลีย่ นวัตถุออกฤทธิใ์ นประเภท 1 และ 2 เป็น ยาเสพติด
ให้โทษในประเภท 1
วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 เดิม
1. ไดเมทอกซี แอมเฟตามีน
2. ไดเมทอกซี โปรโมแอมเฟตามีน
3. 2, 5 ไดเมทอกซี-4-เอทิลแอมเฟตามีน
4. เมทิลลีนไดออกซีแอมเฟตามีน
5. 3, 4 เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน

ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ใหม่
1. ไดเมทอกซี แอมเฟตามีน
2. ไดเมทอกซี โปรโมแอมเฟตามีน
3. 2, 5ไดเมทอกซี -4- เอทิลแอมเฟตามีน
4. เมทิลลีนไดออกซีแอมเฟตามีน
5. 3, 4 เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน
(Ecstasy)
6. 5-เมทอกซี-3, 4 เมทิลลีนไดออกซี 6. 5-เมทอกซี - 3, 4 เมทิ ล ลี น ไดออกซี
แอมเฟตามีน
แอมเฟตามีน
7. พาราเมทอกซี แอมเฟตามีน
7. พาราเมทอกซี แอมเฟตามีน
8. ไตรเมทอกซี แอมเฟตามีน
8. ไตรเมทอกซี แอมเฟตามีน
9. เดกซ์โตร ไลเซอร์ไยด์ หรือ แอล เอส ดี 9. เดกซ์โตร ไลเซอร์ไยด์ หรือ แอล เอส ดี

ตาราง สรุปการเปลี่ยนวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 และ 2 เป็นยาเสพติด
ให้โทษประเภท 1
วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2
1. เลแวมเฟตามีน
2. เลโวเมทแอมเฟตามีน
3. แอมเฟตามีน
4. เมทแอมเฟตามีน
5. เดกซ์แอมเฟตามีน
6. เมโคลควาโลน
7. เมทาควาโลน

ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ใหม่ (ต่อ)
10. เลแวมเฟตามีน
11. เลโวเมทแอมเฟตามีน
12. แอมเฟตามีน
13. เมทแอมเฟตามีน
14. เดกซ์แอมเฟตามีน
15. เมโคลควาโลน
16. เมทาควาโลน

86

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

บรรณานุกรม
1. กระทรวงสาธารณสุข ประกาศฉบับที่ 135/2539, 2539
2. ทรงเกียรติ ปิยะกะ. Addiction medicine for medical students.
เอกสารประกอบการสอนนั ก ศึ ก ษาแพทย์ คณะแพทย์ ศ าสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2540 : 9-10
3. Wiss RD, Mirin SM. Intoxication and withdrawal syndrome. In :
Hyman SE, ed. Manual of psychiatric emergencies. 2nd ed.
USA : A Little Browng 1988 : 238, 254.

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

87

การดูแลรักษาผู้ติดสุรา
นพ.วิเชียร ดีเป็นธรรม
จิตแพทย์ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

อาการทางคลินิก การวินิจฉัย และการรักษา
1. acute alcoholic intoxication (ภาวะมึนเมา) แอลกอฮอล์ ออก
ฤทธิ์กดสมองส่วนที่ทำ�หน้าที่ inhibitory control ลดลงก่อน อาการ
ระยะแรกจึงคล้ายฤทธิก์ ระตุน้ อาการสัมพันธ์กบั BAC (Blood Alcohol
Concentration) ดังในตาราง
ตาราง การกดประสาทของแอลกอฮอล์สัมพันธ์กับ Blood Alcohol
Concentration
ส่วนของระบบประสาท
อาการ
BAC (mg%)
Cortex
euphoria
30-50
Limbic system
talkative friendly
75
Cerebellum
incoordinate
100, 125-150
unrestrained behavior
episodic dyscontrol
Reticular formation confusion lethargic
200-250
Lower brainstem
stupor coma
300-350
Death
500

88

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การวินิจฉัย มีประวัติเพิ่งดื่มสุรา (หรือตรวจวัด BAC) ร่วมกับ
พบพฤติกรรมไม่เหมาะสมซึ่งผิดไปจากพฤติกรรมโดยปกติของผู้ป่วยและมี
อาการแสดงอันใดอันหนึ่งต่อไปนี้คือ
(1) slur speech
(2) incoordinate
(3) unsteady gait
(4) nystagmus
(5) flush face
การวินิจฉัยแยกโรคที่สำ�คัญต่อไปนี้ เพราะเกิดร่วมได้บ่อยและ
อาจมีอาการคล้ายคลึงกัน
(1) head trauma
(2) hepatic encephalopathy
(3) Wernicke encephalopathy
(4) CNS Infection
(5) postictal state
(6) sedative-hypnotic intoxication
(7) severe hypoglycemia
การรักษา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1.1 alert intoxicated patient
 ให้ thiamine (vitamin B1) 100 mg IM หรือ IV ทันที
แล้วให้รับประทานติดต่อกันอีกอย่างน้อย 5 วัน
 ถ้ า ผู้ ป่ ว ยหงุ ด หงิ ด กระวนกระวายหรื อ วุ่ น วายให้
lorazepam 1 mg หรือ diazepam 5 mg รับประทาน
หรือถ้ามีอาการมากให้ฉีด diazepam 5-10 mg IV ช้าๆ
หลังจากนั้นให้ฉีด glucose IV ตาม

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

89

ถ้าผู้ป่วยก้าวร้าวมากให้ฉีด diazepam IV ครั้งที่ 5-10
mg ถ้ายังไม่สงบสามารถให้ซํ้าได้ทุก 15-20 นาที
 หากสงสัยว่าผู้ป่วยมี psychotic symptoms หรือยัง
คงก้าวร้าวหลังจากได้ diazepam แล้ว 20-30 mg
ให้พิจารณาฉีด haloperidol 2-5 mg im และสามารถ
ให้ได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ตามความจำ�เป็น
 ตรวจหาและรักษาภาวะอืน
่ ทีม่ กั พบร่วมด้วย เช่น infection (โดยเฉพาะ pneumonia) dehydration trauma
malnutrition เป็นต้น
1.2 Comatose intoxicated patient
รักษาแบบผู้ป่วย coma จากยาหรือสารเคมีทั่วๆ ไป คือ
ดูแล airway circulation ที่เจาะเลือดและเก็บตัวอย่างส่ง
screen หาเหตุอื่นๆ ด้วย
 ให้ thiamine IM หรือ IV จากนั้นจึงให้นํ้าเกลือและ
glucose IV ในกรณีที่มีรอยเข็มหรือพบ pinpoint
pupils ร่วมด้วย ให้ฉีด naloxone 0.4-0.8 mg (0.01
mg/kg) IV เพราะอาจมีการใช้ยาเสพติดจำ�พวก heroin
ร่วมด้วย


2. alcoholic idiosyncratic intoxication (pathologic
intoxication) พวกนีม้ พี ฤติกรรมวุน่ วาย รุนแรงแบบคนเมา
ขนาดหนัก หรืออาจมีลักษณะคล้ายโรคลมชัก ทั้งๆ ที่เสพ
สุราเพียงเล็กน้อย เชื่อว่ามี brain injury จาก trauma หรือ
encephalitis เป็นปัจจัยเสี่ยง

90

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การวินิจฉัย
(1) พฤติกรรมก้าวร้าว วุ่นวาย หลังเสพสุราเพียงไม่กี่นาทีและ
ปริมาณทีเ่ สพเข้าไปก็เป็นเพียงเล็กน้อยจนไม่นา่ ทำ�ให้คนทัว่ ไป
เมาได้
(2) พฤติกรรมดังกล่าวไม่ใช่ลักษณะปกติของผู้ป่วย
(3) ไม่พบโรคทางจิตหรือทางกายทีเ่ ป็นเหตุให้เกิดอาการเหล่านีไ้ ด้
การรักษา
(1) ควบคุมการก้าวร้าวรุนแรงโดยการผูกมัด
(2) ให้ยา antipsychotic เช่น haloperidol 2-10 mg IM ซึ่ง
อาจให้ยาทุก 4-6 ชั่วโมง จนผู้ป่วยสงบแล้วค่อยๆ ลดยาลงใน
2-3 วัน
(3) แนะนำ�ให้เลิกสุราตลอดไป
(4) ระวังการใช้ยากลุ่ม benzodiazepines หรือ barbiturates
อาจให้ผลไม่ถึงประสงค์คล้ายๆ กันได้
3. alcoholic withdrawal syndrome เกิดได้ทั้งๆ ที่ยังดื่ม
สุราอยู่แต่ลดปริมาณลงหรือหยุดดื่มกะทันหัน อาการจะเริ่ม
เกิดในไม่กี่ชั่วโมงหลังการเสพสุราครั้งสุดท้ายและจะรุนแรง
เพิม่ ขึน้ มากสุดใน 24-48 ชัว่ โมง อาการทีเ่ กิดขึน้ อาจเป็นเพียง
ไม่กี่ชั่วโมงถึง 2 สัปดาห์

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

91

การวินิจฉัย


มีประวัติดื่มสุรามานานแล้วหยุดหรือลดการดื่มลง ร่วมกับมี
อาการ
(1) tremor ของมือ ลิ้น เปลือกตา
(2) มีอาการเหล่านีอ้ กี อย่างน้อย 1 อาการคือ คลืน่ ไส้ อาเจียน
ตัวร้อนใจสั่น เหงื่อออก ความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติ
หงุดหงิด ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ

การรักษา
1. supportive treatement
1.1 ให้พัก งดดื่มสุรา ให้อาหารอย่างเพียงพอโดยเฉพาะ
thiamine
1.2 จัดสิง่ แวดล้อมให้ปลอดโปร่ง สดใส มีปฏิทนิ นาฬิกา (เพือ่
ให้เกิด reality orientation)
1.3 มีญาติมิตรให้กำ�ลังใจ
2. specific treatment
2.1 hydration แต่ต้องระวัง over hydration โดยเฉพาะ
พวกที่มีโรคตับ ถ้าผู้ป่วยรับประทานได้ก็ให้รับประทาน
เอง ถ้ารับประทานไม่ได้ให้ 5% D/N/2 2000 cc/day
อาจเสริม KCL 20 mEq/day IV
2.2 ให้ thiamine 100 mg IM 3-5 วิตามินบีรวม วันละ 3-4 เม็ด
folate วันละ 1 เม็ด

92

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

2.3 ควบคุ ม อาการ withdrawal symptoms โดยให้
diazepam 5-10 mg PO ทุก 6 ชั่วโมง หรือปรับขนาด
จนอาการผู้ป่วยทุเลา (โดยมาก ไม่เกิน 100 mg/day)
แล้วค่อยๆ ลดขนาดหลังวันที่ 3 จนเหลือน้อยที่สุด หรือ
ยกเลิกใน 1-2 สัปดาห์

ในกรณี ที่ ตั บ มี ส มรรถภาพไม่ ดี ควรเลื อ กให้
ยาที่ออกฤทธิ์สั้นและไม่มี active metabolite เช่น
lorazepam หรือ alprazolam โดยทัว่ ไปให้ 0.5-1 mg PO
ทุก 6 ชัว่ โมง แล้วค่อยๆ ปรับขนาดเพือ่ ให้ได้ผลลดอาการ
ต่างๆ อาจให้มื้อก่อนนอนในขนาดยามากกว่ามื้ออื่นๆ
เพื่อให้หลับ
3. alocoholic withdrawal seizure (rum fit) มักเกิดใน
24-48 ชั่ ว โมงหลั ง หยุ ด สุ ร ามั ก เป็ น generalized
tonic-clonic seizure ของพวกนี้จะชักครั้งเดียว
แต่ จะชักหลายครั้ง มีร้อยละ 2 ที่เกิดเป็น status
epilepticus พวกหลังนี้มักเกิดในผู้ป่วยลมชักอยู่แล้ว
และขาดยากันชัก
การวินิจฉัย
(1) ไม่มีประวัติเป็นโรคลมชักมาก่อน
(2) มีอาการชักเกิดหลังหยุดสุราใน 24-48 ชั่วโมง
(3) มีอาการของ alcoholic withdrawal syndrome

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

93

การรักษา
ให้ diazepam 10 mg IV ช้าๆ จนสงบ หากไม่หยุดชักสามารถ
ให้ซํ้าได้อีก เกือบทั้งหมดสามารถควบคุมได้ด้วย diazepam
ไม่เกิน 20 mg
 ในกรณี ที่ ส งสั ย ว่ า เป็ น ผู้ ป่ ว ยลมชั ก มาก่ อ นอาจเลื อ กให้
phenytoin ในขนาด loading dose 15 mg/kg IV โดยผสม
ในนํ้าเกลืออัตราเร็วไม่เกิน 50 mg/min
 ควรตรวจสืบค้นหาสาเหตุ ในกรณีที่ชักเกิดหลังหยุดสุราเกิน
24 ชั่วโมง หรือชักชนิด focal หรือ status epilepticus
หรือ ตรวจพบ neurological deficit สำ�หรับพวก pure
alcohol withdrawal seizure ในระยะยาวไม่จ�ำ เป็นต้องให้
anticonvulsant เพราะหากผู้ป่วยไม่กลับไปดื่มสุราก็จะไม่
เกิดอาการอีก


4. alcoholic withdrawal delirium (delirium tremens)
การวินิจฉัย
(1) มีอาการของ delirium เกิดในผู้ดื่มจัดและลดหรือหยุดดื่ม
กะทั น หั น ร่ ว มกั บ autonomic hyperactivity เช่ น
tachycardia sweating เป็นต้น และไม่พบจากสาเหตุอื่น
(2) มักพบเกิดในวันที่ 3-4 ของการหยุดสุรา หากผู้ป่วยเกิด rum
fit มาก่อนจะมีโอกาสเกิดมากกว่า 1 ใน 3
(3) สาเหตุ ก ารตายมั ก เกิ ด จาก อุ บั ติ เ หตุ ฆ่ า ตั ว ตาย หรื อ
อาการแทรกซ้อนทางการแพทย์ได้แก่ infection cardiac
arrhythmia เป็นต้น

94

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การรักษา
หลั ก การเหมื อ นการรั ก ษา alcoholic withdrawal
Syndrome
 อาจต้ อ งให้ haloperidol 5-10 mg IM ในรายที่ มี
severe agitated (หลังจากให้ diazepam แล้ว) โดยให้ได้ทกุ
2-4 ชั่วโมง
 ตรวจหาและรั ก ษา complicating illnesses ได้ แ ก่
pneumonia GI bleeding โรคตับ pancreatitis subdural
hemetoma fracture เป็นต้น


5. alcoholic hallucinosis ผู้ป่วยมักอายุเกิน 40 ปี และมี
ประวัติดื่มสุรานานกว่า 10 ปี
การวินิจฉัย
(1) มีอาการประสาทหลอนอย่างชัดเจนเกิดภายหลังการลดหรือ
หยุดเสพสุรา (มักเกิดใน 48 ชั่วโมง)
(2) ไม่พบ delirium
(3) ไม่ พ บโรคทางจิ ต หรื อ ทางกายอื่ น ที่ อ าจทำ � ให้ เ กิ ด
ประสาทหลอนอาการอาจเป็นช่วงสัน้ ๆ หรือเรือ้ รังหลายเดือน
กรณีหลังต้องแยกจากโรค schizophrenia ซึ่งจะมีอาการ
ประสาทหลอนโดยไม่ เ กี่ ย วกั บ สุ ร าและมั ก มี psychotic
symptoms อื่นๆ ร่วมด้วย การดำ�เนินโรคเรื้อรังกว่า อายุที่
เริ่มป่วยน้อยกว่า และมักมีประวัติครอบครัวเป็นด้วย

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

95

การรักษา
ให้ยากลุ่ม benzodiazepines ในขนาดเท่าหรือสูงกว่ า
alcoholic withdrawal syndrome ทั่วไปในรายที่เรื้อรังหรือมี
อาการตอบสนองต่อ hallucination ให้เพิ่มยาขนาดโรคจิตเช่น
haloperidol 2-10 mg PO ต่อวันจนอาการดีขึ้น
6. Wernicke encephalopathy
เกิดจากการขาด Thiamine (B1)
การวินิจฉัย
(1) mental status abnormalities มักเป็น global confusion
inattentiveness เงียบเฉย hypokinetic delirium
(2) ataxic gait
(3) ocular finding ได้ แ ก่ nystagmus (horizontal or
vertical) weakness or paralysis of lateral rectus
muscle weakness or paralysis of conjugate gaze
การรักษา
ให้ thiamine 100-200 mg IM หรือ IV ทันที จะแก้ไขอาการ
อย่างรวดเร็ว และให้รบั ประทานต่ออีกระยะหนึง่ อาการผิดปกติทางตาจะดี
ขึน้ ก่อน อาการอืน่ ๆ จะดีขนึ้ อีกหลายสัปดาห์ นอกจากนัน้ ควรให้วติ ามินอืน่ ๆ
เสริมด้วย

96

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

บรรณานุกรม
1. กิตติ ลิม่ อภิชาต ผลแทรกซ้อนของระบบประสาทจากสุรา (neurological
complication of alcohol). ใน : กิตติ ลิ่มอภิชาต. ประสาทวิทยา
พื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์, 2534 : 427,
429, 432, 434.
2. Janicak PG, Piszczor J. Alcohol-related disorders. In : Flaherty
JA, Channon RA, Davis JM, eds. Lange Clinical manual
Psychiatry diagnosis & therapy ‘88/89: USA : Appleton & Lange
3. Kaplan HI, Sadock BJ. Alcololism. In : Kaplan HI, Sadock
BJ. Eds. Synopsis of psychiatry : Behavior sciences clinical
psychiatry. 6th ed. Baltimore : William & Wilkins, 1991 : 287-91

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

97

การดูแลรักษาผู้ติดเฮโรอีน
น.พ.วิเชียร ดีเป็นธรรม
จิตแพทย์ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

การบำ�บัดรักษากลุม่ อาการทีเ่ ป็นปัญหาจากการเสพเฮโรอิน
1. การถอนพิษ (detoxification) เฮโรอิน เป็นการรักษา
อาการ heroin withdrawal symptoms นั่นเอง มีหลาย
วิธีดังเช่น
1.1 วิธีหักดิบ (cold turkey) คือ การหยุดใช้เฮโรอินทันที
โดยผูป้ ว่ ยทนต่ออาการ withdrawal symptoms ซึง่ มัก
จะเริ่มเกิดขึ้นหลังขาดยาประมาณ 4 ชั่วโมงแล้วค่อยๆ
ทวีความรุนแรงจนมากที่สุดในวันที่ 3 อาการจะค่อยๆ
ลดลงทีละน้อยจนเกือบหมดภายใน 7 ถึง 10 วัน วิธีนี้
ใช้ได้กับคนที่มีความตั้งใจสูง ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรค
แทรกซ้อน เสพติดเฮโรอินในขนาดไม่สูงนัก (มักไม่เกิน
ฝาต่อวัน หากเสพมากกว่านี้มักจะทนไม่ไหว)
1.2 การใช้ยาอื่นๆ บรรเทาอาการ เช่น ยากล่อมประสาท
ยาแก้ปวด วิธีนี้ขึ้นอยู่กับความชำ�นาญของแพทย์ในการ
ควบคุมการออกฤทธิข์ องยาทีใ่ ห้แก้ผปู้ ว่ ยเป็นสำ�คัญเป็น
symptomatic treatment มุง่ รักษาอาการ withdrawal
symptoms หากผู้ป่วยนอนหลับได้จะทนอาการต่างๆ
ได้ดีขึ้น ยาหลักที่ใช้จึงเป็นกลุ่ม hypnotic แต่ต้องระวัง
ผูป้ ว่ ย abuse ยากลุม่ นีอ้ กี โดยเฉพาะยาตัวทีอ่ อกฤทธิแ์ รง

98

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

และเร็ว เช่น midazolam มีผู้ป่วยบางคนจะตอบสนอง
ยากลุ่มนี้แบบผิดปกติ (paradox) ทำ�ให้มีอาการเอะอะ
ก้าวร้าวหรือสับสนซึ่งควบคุมได้ด้วย antipsychotics
การให้ยา antipsychotics เพื่อหวังผลด้าน sedation
พบว่าในบางคนได้ผลดีแต่บางคนกลับมีอาการ withdrawal symptoms หนักขึ้น ในกรณีที่มีปัญหากับวิธี
การรักษาในข้อนี้ให้ใช้วิธีในข้อ 1.4 แทน
1.3 การใช้ clonidine เป็น a2 adrenergic agonist พบ
ว่าสามารถลดอาการ withdrawal symptoms บาง
ส่วนได้ แต่มีผลข้างเคียงมากโดยเฉพาะเรื่องง่วงและ
hypotensive effect มักเลือกใช้ในพวกที่ติดเฮโรอิน
ไม่เกิน 2 ฝา ต่อวันหรือผู้ป่วยที่ใช้ methadone ไม่เกิน
40 mg/วัน ขนาดยา 0.006-0.017 mg/kg/day แบ่งให้
วันละ 2-4 ครั้ง เช่น

วันแรก clonidine (0.07/mg) 1 tab qid
วันที่ 2-5 clonidine (0.150 mg) 1 tab qid

จากนั้นลดลง ครึ่งหนึ่ง ต่อวันแต่ไม่เกินวันละ
0.3 mg อาจให้ยาในข้อ 2.2 ร่วมด้วยในพวกทีท่ นอาการ
ไม่ได้

การให้ยา clonidine เม็ดแรกควรระวังปัญหา
hypotension ซึ่งมักเกิดใน 2-3 ชั่วโมงแรก ถ้าความ
ดันโลหิตตํ่ากว่า 90/60 mmHg ควรเลื่อนให้ยา dose
ที่ 2 ออกไปจนความดั น โลหิ ต ดี ก ว่ า นั้ น โดยทั่ ว ไป
clonidine จะช่วยลดอาการพวกคลืน่ ไส้ อาเจียน ท้องเสีย

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

99

ได้ดี แต่ลดอาการ craving insormnia restlessness
muscleache ได้ไม่ดีนัก ฉะนั้นจึงควรพิจารณาให้ยา
รักษาอาการเหล่านี้ควบไปด้วย
1.4 การใช้ ย าทดแทนด้ ว ยยาที่ อ อกฤทธิ์ แ บบเดี ย วกั บ
heroin (opioids) ยากลุม่ นีม้ หี ลายตัว ออกฤทธิ์ cross
tolerance กับ heroin ได้ทำ�ให้แก้อาการ withdrawal
symptoms ได้ค่อนข้างชะงัด ผู้ป่วยค่อนข้างสบายแต่มี
ปัญหาเสพติดยาทีร่ กั ษาได้ ฉะนัน้ จึงต้องมีความเข้าใจใน
การใช้ยากลุ่มนี้พอสมควร ยาที่จะกล่าวถึงในที่นี้มีเพียง
2 ตัว คือ methadone และ morphine เนือ่ งจากหาได้
ง่ายและราคาไม่แพง แต่ถา้ ผูร้ กั ษามีความชำ�นาญมากขึน้
และเข้าใจหลักการก็จะสามารถประยุกต์การใช้ยาในกลุม่
opioids มาใช้รักษาได้แทบทุกตัว
2. วิธีการใช้ opioids ถอนพิษ heroin
หลักการคือให้ยาเข้าไปทดแทนเพื่อลด withdrawal
symptoms ลงให้เหลือน้อยพอทนได้ โดยไม่ทรมานแล้ว
ค่อยๆ ลดขนาดยา เพื่อให้ร่างกายปรับตัวจนอาการบรรเทา
และหายไปในที่สุด ยาที่ควรเลือกคือ ยาที่ออกฤทธิ์ได้อย่าง
ยาวนานกว่า heroin มีฤทธิ์ euphoria น้อยกว่า แต่ลดอาการ
withdrawal ได้ ควบคุมการบริหารยาได้ง่าย เสพติดยาก
ราคาถูกในประเทศไทยเรา drug of choice คือ methadone
2.1 methadone เป็นสารสังเคราะห์จำ�พวก diphenylpropylamine ฤทธิ์ทั่วไปคล้ายคลึง morphine แต่เมื่อ
รับประทานหลายครัง้ จะเกิดฤทธิส์ ะสมยาวนานกว่ามาก

100

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ยานี้ดูดซึมได้ดีจากการรับประทาน หรือฉีดเข้ากล้าม ใน
ประเทศไทยมีจ�ำ หน่ายในรูปยาเม็ดๆ ละ 5 mg กับยานํา้
10 mg/ml โดยกองควบคุมวัตถุเสพติดของสำ�นักงาน
คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
methadone ที่จำ�หน่ายแก่สถานบำ�บัดรักษาผู้ติดยา
เสพติดจะเป็นรูปยานํ้า ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยใช้
ยาผิดวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ ส่วนชนิดเม็ดมักใช้ใน
กรณีเพื่อบำ�บัดรักษาอาการปวดในโรคมะเร็ง
methadone ทีใ่ ช้ทดแทน heroin คำ�นวณขนาดใน
อัตรา methadone 1 mg ต่อ horoin 2-4 mg โดยประมาณ
(ไม่ คำ � นวณตามความแรงของยา) แต่ ไ ม่ ค วรใช้
methadone เกิน 80 mg/วัน เพราะมีความเสี่ยงต่อผล
แทรกซ้อนของฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลางสูง
ปริ ม าณของ heroin ที่ ผู้ ป่ ว ยเสพมี ห น่ ว ยเป็ น
บิ๊ก 1 บิ๊กประมาณ 5 ฝา 1 ฝาประมาณ 5 หลอด
นํ้าหนัก heroin ไม่มีมาตรฐานแน่นอน (เพราะเป็นของ
ผิดกฎหมาย) โดยทั่วไป 1 บิ๊ก ประมาณ 500-1000
mg ประวัติการใช้ heroin โดยรวมต่อวันที่ผู้ป่วยบอก
มักเกินความจริง (เพื่อหวังให้แพทย์สั่งจ่ายยา methadone มากๆ และขนาด heroin ที่ผู้ป่วยแจ้งมักเป็น
ขนาดที่ให้เกิดอาการเมา (intoxication) ซึ่งเป็นขนาดที่
สูงกว่าขนาดที่ทำ�ให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการ withdrawal
symptoms (ซึ่งเป็นขนาดรักษาแบบถอนพิษ) ฉะนั้นจึง
มีแนวโน้มให้ methadone ในระดับตํา่ ก่อนแล้วค่อยๆ

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

101

เพิ่มทีหลัง การให้ย าน้อยไปอาจทำ�ให้ผู้ป่วยมีอ าการ
ทรมานจาก withdrawal symptoms บ้างแต่สามารถ
เพิ่มยาให้เพียงพอได้ง่าย แต่ถ้าให้ methadone มาก
เกินอาจเกิด overdose ได้เช่นเดียวกับเฮโรอิน และการ
ถอนฤทธิ์ยาในกรณีที่เราให้ methadone มากเกินก็ค่อย
ข้างยุ่งยาก
อาการแสดงทางคลินิกที่ใช้ติดตาม withdrawal
symptoms ในการรักษา คือ
1. dilated pulil
2. เหงื่อออก ขนลุก นํ้ามูก นํ้าตาไหล หาว
3. pulse เพิ่มกว่า 10 ครั้ง/นาทีจากปกติ
4. systolic BP เพิ่มกว่า 10 mmHg จากปกติ
วิธีให้ methadone ในการถอนพิษ
วันแรกของการถอนพิษ ให้คำ�นวณ methadone
เทียบกับปริมาณ heroin ที่ผู้ป่วยใช้ทั้งวันในอัตราส่วน
ดังที่กล่าวมาแล้ว เมื่อคำ�นวณได้เท่าไรก็จะให้ dose แรก
เพียงครึ่งเดียวของขนาดที่คำ�นวณได้ (แต่ไม่เกิน 40 mg)
สังเกตอาการใน 4 ชัว่ โมง ถ้ามี withdrawal symptoms
ก็ให้อีกครึ่งหนึ่งของ dose แรก (แต่ไม่เกิน 20 mg)
ติดตามอาการอีก 4 ชัว่ โมง ถ้ามีอาการอีกให้ครึง่ หนึง่ ของ
dose แรก (รวมปริมาณ methadone ทั้งวันไม่เกิน 80
mg) จนผู้ป่วยทน withdrawal symptoms ได้ จึงหยุด
หลังให้ยาครั้งแรกมักจะควบคุมอาการได้ ส่วนใหญ่ไม่
จำ�เป็นต้องให้ยาครั้งที่สอง

102

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

วันที่ 2 ปริมาณ methadone ทีใ่ ห้ทงั้ หมดในวันแรกนี้
จะแบ่งให้ เช้า-เย็น
วันที่ 3 ให้ methadone เท่าเดิม แต่จะรวมยาให้ใน
มือ้ เช้ามือ้ เดียวเนือ่ งจาก methadone ทีใ่ ห้ในสองวันแรก
จะสะสมในตัวผูป้ ว่ ยมากพอทีจ่ ะออกฤทธิไ์ ด้ตลอดวันหรือ
จะแบ่งให้ 2 มื้อก็ได้
ตั้งแต่วันที่ 4 เริ่มลดยา โดยลดวันละ 5 mg หรือ
ร้อยละ 5-10 ของขนาดที่ให้ก่อนหน้านี้หรือลดลงให้มาก
ที่สุดที่ผู้ป่วยทนได้ ขึ้นกับระยะเวลาที่เราจะใช้ในการ
ถอนพิษยา (ทั้งนี้ต้องไม่นานเกินกว่า 45 วัน) แต่ควรจะ
เลิกเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
2.2 morphine ฤทธิข์ อง morphine กับ heroin คล้ายคลึง
กันมากต่างกันที่ระยะเวลาออกฤทธิ์ของ morphine
นานกว่าเล็กน้อย และอ่อนกว่า โดยทั่วไป โรงพยาบาล
ที่ไม่ใช่สถานบำ�บัดยาเสพติดจะไม่มี methadone จึง
จำ�เป็นต้องพิจารณายานีม้ าใช้ในการถอนพิษเฮโรอิน (วิธี
นี้ไม่ใช่วิธีที่มาตรฐาน แต่เป็นการประยุกต์ใช้แก้ปัญหา
เฉพาะหน้าเท่านั้น) การใช้ morphine ถอนพิษจะไม่
คำ�นวณเทียบตามความแรงของฤทธิ์ยา 2.1 ด้วยเหตุผล
ทำ�นองเดียวกันกับ methadone
วิธีให้ morphine ในการถอนพิษ

ควรให้ morphine เพียง 10-20 mg IV หรือ IM
แล้วแต่อาการและประวัตปิ ริมาณการเสพ heroin สังเกต
ดูอาการภายใน 2-4 ชั่วโมง หากมีอาการ withdrawal

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

103

symptoms มาก ก็ให้ยาขนาดเดิมไปอีก จนผู้ป่วยสงบ
หรือพอทนได้ ขนาดของ morphine ที่ใช้ทั้งหมดจน
ควบคุมอาการได้นคี้ อื dose ทีจ่ �ำ เป็นต้องใช้ทกุ 6 ชัว่ โมง
เพือ่ ควบคุมอาการ อย่างไรก็ตามเนือ่ งจาก morphine มี
ฤทธิ์ในการเสพติดค่อนข้างสูง จึงควรลดขนาดยาลงเร็ว
ที่สุด โดยลดลงเท่าที่ผู้ป่วยพอทนได้ และถ้าลดยาเหลือ
น้อยแล้ว เช่น ให้ morphine เพียง dose ละไม่เกิน 5
mg ควรจะรีบหยุดยาและใช้ยากลุ่มอื่นๆ 1.2 และ 1.3
ควบคุมอาการแทน
3. horoin overdose ผูป้ ว่ ยมักมาด้วยอาการหลัง 3 อย่าง คือ
coma pinpoint pupils (both) depressed respiration
บางทีอาจหายใจเพียง 2-3 ครั้ง/นาที แต่ถ้า hypoxia มากๆ
อาจทำ�ให้ BP ตกและ pupils โตได้ อาการอื่นที่อาจพบ
คือ pulmonary edema ตัวเย็น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เขียว
ปัสสาวะน้อยลง เป็นต้น การตรวจร่างกายที่สำ�คัญ คือ รอย
เข็ม ประวัติที่สำ�คัญคือ เคยใช้ยาเสพติดพวก heroin
การรักษา
1. รักษาตามอาการ coma หรือภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์
อื่นๆ
2. ถอนฤทธิ์ของเฮโรอินโดยใช้ naloxone 0.8 mg iv รอดูผลใน
15 นาที หากไม่ดีขึ้น ให้ฉีด 1.6 mg ซํ้า รอดูผลอีก 15 นาที
และหากไม่ดีขึ้นฉีด 3.2 mg ถ้าไม่ดีขึ้นแสดงว่าอาการที่เกิด
ขึ้นไม่น่าจะเกิดจาก heroin overdose

104

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

3. เนื่ อ งจากฤทธิ์ ข องเฮโรอิ น จะกดการหายใจได้ น านถึ ง 6
ชั่วโมงและ methadone กดได้นาน 24-72 ชั่วโมงในขณะ
ที่ naloxone มีฤทธิ์สั้นกว่า ฉะนั้นผู้ป่วนที่ฟื้นจาก heroin
overdose ควรได้รบั การดูแลต่ออีกระยะหนึง่ เพือ่ ความแน่ใจ
4. หลังได้ naloxone ผู้ป่วยบางคนไม่เพียงจะฟื้นขึ้นมาเท่านั้น
แต่จะมีอาการของ acute heroin withdrawal symptoms
ด้วย ถ้าหากผูป้ ว่ ยทนได้กไ็ ม่ควรให้ยาใดๆ แต่ถา้ มีอาการมาก
อาจให้ยารักษาดังข้อ 2 แต่พยายามให้ dose ตํ่าสุดเพราะ
withdrawal symptoms ที่เกิดขึ้นนี้เกิดจาก naloxone
แทน heroin โดยการแย่งจับ opioids receptors แทน แต่
เมือ่ naloxone ซึง่ มีฤทธิส์ นั้ กว่าหมดฤทธิล์ งก่อน เฮโรอินทีย่ งั
เหลือค้างในร่างกายก็จะมาจับ receptors เหล่านัน้ คือ ทำ�ให้
เกิดอาการ intoxication หรือ overdose ขึ้นอีกได้
4.ประเด็นอื่นที่ควรทราบ
4.1 การตรวจหาสารเสพติดเฮโรอินในร่างกายมนุษย์ตรวจ
ได้จากหลายแหล่ง และแหล่งที่ง่ายสุดคือ ตรวจจาก
ปัสสาวะ มีเทคนิคการตรวจหลายแบบ ปัจจุบันมีการ
จัดทำ�ชุดสำ�เร็จรูป โดยอาศัยหลัก immunoassay ส่วน
ใหญ่มีลักษณะเป็นแถบกระดาษแบบต่างๆ ซึ่งมีต้นทุน
ประมาณ 100 บาท/test ชุดตรวจเหล่านี้สามารถอ่าน
ผลได้ภายในเวลาไม่กี่นาที วิธีการตรวจแบบนี้ ถือเป็น
screening test หากต้องการยืนยันผลแน่นอน ต้องส่ง
ตรวจ confirm test ซึ่งมีวิธีการตรวจที่ยุ่งยากซับซ้อน
ฉะนัน้ หากจำ�เป็นต้องใช้ผลตรวจปัสสาวะในกระบวนการ

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

105

ยุติธรรมจะต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ให้พิจารณาจากสภาพ
แวดล้ อ มและพฤติ ก ารณ์ แ ห่ ง คดี ป ระกอบด้ ว ย หาก
ต้องการ confirm test ให้ส่งที่กรมวิทยาศาสตร์การ
แพทย์หรือโรงพยาบาลธัญญารักษ์
4.2 heroin จะอยู่ ใ นร่ า งกายให้ ต รวจพบในปั ส สาวะได้
ประมาณ 36-72 ชั่วโมง
4.3 การตรวจปัสสาวะเป็นการตรวจหา morphine ซึ่งเป็น
metabolite ของ heroin ฉะนัน้ สารใดทีม่ ี metabolite
เป็น morphine ก็จะทำ�ให้ผลการตรวจเป็น positive ได้
4.4 แนวทางการใช้ methadone รั ก ษา withdrawal
symptoms มีวิธีการหลายแบบ ขึ้นอยู่กับสถานที่และ
วัตถุประสงค์
4.5 การถอนพิษหญิงตัง้ ครรภ์ทตี่ ดิ เฮโรอิน ให้ใช้ methadone
และควรลดขนาดยาซํ้ า ๆ ที ล ะน้ อ ยไม่ ใ ห้ เ กิ ด อาการ
withdrawal symptoms และต้องติดตามตรวจสสภาพ
ทารกในครรภ์เป็นระยะๆ เพราะทารกจะติดเฮโรอินและ
มีอาการ withdrawal symptoms เช่นเดียวกับแม่
4.6 ระยะเวลาที่เกิดอาการ withdrawal symptoms ของ
morphine จะยาวกว่า heroin ดังตาราง

106

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ตารางแสดงอาการขาดยาซึง่ ปรากฏหลังการหยุดได้รบั ยา heroin เทียบกับ
morphine
จำ�นวนชั่วโมงหลังอดสารเสพติด
Heroin
morphine
อยากยา กังวลใจ หงุดหงิด
4
6
หาว เหงื่อไหล นํ้ามูกนํ้าตาไหล
8
14
อาการข้างบนเพิ่มขึ้น ม่านตาขยาย
12
16
ขนลุก ปวดตามกล้ามเนือ้ และกระดูก
กล้ามเนื้อกระตุกหรือชัก มีอาการ
หนาวๆ ร้อนๆ เบื่ออาหาร
18-24
24-36
อาการข้างบนเพิ่มขึ้น นอนไม่หลับ
ความดันเลือดสูง มีไข้ ชีพจรเต้นเร็ว
หายใจเร็ ว ลึ ก กระสั บ กระส่ า ย
คลื่นไส้
อาการข้างบนเพิ่มขึ้น อาเจียน
23-26
36-48
ท้องร่วง นํ้าหนักลด หลั่งนํ้ากามเอง
ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงขึ้น
Withdrawal symptoms

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

107

บรรณานุกรม
1. ศิริภรณ์ ฟุ้งวิทยา. ยาระงับปวดชนิดเสพติดและยาต้านฤทธิ์ ในศิริภรณ์
ฟุง้ วิทยา ยาระงับปวด. พิมพ์ครัง้ ที่ 1. กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์จฬุ าลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2530 : 48.
2. Lahmeyer HW, Chanon RA and Schlemmer RF. Psychoactive
substance abuse. In : Flaherty JA, Channon RA and Davis JM,
eds. Lange Clinical manual : Psychiatry diagnosis & therapy
‘88/89.’ USA : Appleton & Lange, 1988 : 185-7.

108

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การดูแลรักษา

ผู้ป่วยจิตเวชเด็ก

109

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

พัฒนาการของเด็กทารก
และปฐมวัยที่ปกติและผิดปกติ
พ.ญ.เรือนแก้ว กนกพงศ์ศักดิ์
กุมารแพทย์ โรงพยาบาลราชานุกูล

การวินิจฉัยปัญหาพัฒนาการในเด็กเล็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อลด
ความพิการในเด็ก และลดความวิตกกังวลของครอบครัว
ปัญหาพัฒนาการในเด็กเล็ก มีสาเหตุ อัตราความชุก อายุเฉลี่ย
ที่วินิจฉัยและจำ�นวนของเด็กที่วินิจฉัยได้ที่อายุเฉลี่ยแตกต่างกัน ดังตาราง
ตาราง แสดงอัตราความชุก อายุเฉลีย่ ทีว่ นิ จิ ฉัยได้ และจำ�นวนเด็กทีไ่ ด้
รับการวินิจฉัยที่อายุเฉลี่ยของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
ประเภทของ อัตราความชุก
พัฒนาการล่าช้า ต่อ 1,000 คน
1. ปัญญาอ่อน
2. สมองพิการ
3. บกพร่อง
ด้านการมองเห็น
4. บกพร่อง
การได้ยิน

25
2-3
0.3-0.6
0.8-2

อายุเฉลี่ยที่ จำ�นวนที่วินิจฉัย
วินิจฉัยได้ ได้ที่อายุเฉลี่ย
(เดือน)
(ร้อยละ)
39
76
10
99
55
87
39

64

110

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

แนวทางการวินิจฉัย
1. เด็ก
 การเจริญเติบโต : นํา
้ หนักแรกคลอด อายุครรภ์ของมารดาเมือ่
เด็กเกิด นํ้าหนัก ความยาว (ส่วนสูง) เส้นรอบศีรษะ
 การตรวจร่ า งกาย : ตาเข nystagmus การมองเห็ น
การได้ยนิ การตรวจระบบประสาท ลักษณะการยืน การเดิน และ
ความผิดปกติอื่นๆ
 พัฒนาการ : ส่งเสริมให้ผป
ู้ กครองบันทึกพัฒนาการเด็กในสมุด
บันทึกสุขภาพเด็ก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า
มารดาและผูด้ แู ลเด็กไทยสามารถตรวจสอบพัฒนาการเด็กได้
ถูกต้องร้อยละ 62.2-97.7
การตรวจและแปลผลพัฒนาการ
 ถ้าเด็กผิดปกติดา้ นการเคลือ
่ นไหว ควรตรวจหาอาการของโรค
สมองพิการ hypotonia muscular dystrophy
 ด้านการใช้มือ ทดสอบการเปลี่ยนมือจับวัตถุ การใช้นิ้วชี้และ
นิ้วหัวแม่มือหยิบวัตถุขึ้นเล็กๆ และการซ้อนวัตถุเป็นชั้นๆ ถ้า
ผิดปกติควรแนะนำ�และติดตามปัญหาด้านสติปัญญา สมอง
พิการ
 ภาษา ทดสอบการพูดคำ�ที่มีความหมาย การพูดเป็นวลี หรือ
ประโยคที่มีความหมาย เป็นข้อมูลสำ�คัญการวินิจฉัยปัญหา
ด้านสติปัญญา
 การยิ้มและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น อายุที่เด็กยิ้มตอบผู้อื่นพร้อม
ออกเสียงหัวเราะ เล่นโต้ตอบ เลียนแบบท่าทาง หรือทำ�ท่า
ทางเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

111

2. ผู้เลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมของเด็ก
ทัศนคติ ความคาดหวัง และความรูส้ กึ ต่อเด็ก ท่าทางและการ
แสดงออกของสมาชิกในครอบครัว ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ปัญหาของเด็ก ความ
ต้องการของครอบครัวและผลกระทบต่อครอบครัว
การจัดบริการและการรักษา
1. การสร้างทีมงานและจัดระบบการทำ�งาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้
เลีย้ งดูใช้สมุดสุขภาพ ทีมงานเข้าใจ รับฟัง รวบรวมข้อมูล และ
ร่วมแก้ไขปัญหาการเลีย้ งดูเด็ก ประสานงานกับหน่วยงานอืน่
เพือ่ การประสานการทำ�งาน แลกเปลีย่ นข้อมูลด้านผูป้ กครอง
บุคลากรวิชาชีพ เอกสารและสื่อต่างๆ สำ�หรับผู้เลี้ยงดูและ
ผู้ปฏิบัติงาน
2. รักษาโรคหรือปัญหาทีแ่ ก้ไขได้ เช่น hypothyroid, การได้ยนิ ,
การมองเห็น
3. รับฟัง ติดตาม เช่น นัดตรวจซํา้ และเข้าใจปัญหาทีแ่ ท้จริงก่อน
ที่จะอธิบายและให้การแนะนำ�ผู้ปกครอง
ข้อมูลที่น่าสนใจ
1. การวินิจฉัยปัญหาจากประวัติ การตรวจพัฒนาการเด็ก
สิ่งที่ยังทำ�ไม่ได้
การแบ่งชัดเจนระหว่างพัฒนาการปกติและผิดปกติ
 ทำ�นายสติปัญญา และความสำ�เร็จในอนาคตของเด็ก
 วินจ
ิ ฉัยปัญหาขณะทีเ่ ด็กไม่รว่ มมือ เช่น เด็กไม่พร้อมทีจ่ ะแยก
จากแม่
 พัฒนาการช้าโดยไม่มีความผิดปกติอื่น เช่น microcephaly
เป็นต้น เนื่องจากจะแยกได้ยากจาก delay maturation


112

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

สิ่งที่ทำ�ได้


การวินิจฉัย ปัญญาอ่อน สมองพิการ การมองเห็น และการ
ได้ยินที่มีความพิการระดับปานกลางและรุนแรง

2. องค์กรที่ให้ข้อมูล
 การอบรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการใช้คู่มือ การอบรม
การให้ การปรึ ก ษาแนะนำ � รายชื่ อ ผู้ ผ่ า นการอบรม คู่ มื อ
สำ�หรับผู้ปฏิบัติงานและเอกสาร สิ่งพิมพ์สำ�หรับผู้ปกครอง
ได้แก่สาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลจิตเวช ศูนย์สุขภาพจิต
โรงพยาบาลราชานุกูล สังกัดกรมสุขภาพจิต

บรรณานุกรม
1. Batshaw ML. The Pediatric clinic of North American. The child
with developmental disabilities. Philadelphia : W.B. Saunders
Company. 1993; 40 (3).
2. Illingworth RS. The development of the infant and young
child : Normal and abnormal. London : Churchill Livingstone.
1987.
3. Feasibility study on the utilization of the home - based
child development record (HB D R) by mothers and
primary caretakers. ทุ น วิ จั ย สนั บ สนุ น โดยองค์ ก ารอนามั ย โลก
โครงการวิจัยพฤติกรรมสุขภาพ แผนงานส่งเสริมการวิจัยพฤติกรรม
สุขภาพ พ.ศ. 2535

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

113

ปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis)
พ.ญ.สมรัก ชูวานิชวงศ์
จิตแพทย์ โรงพยาบาลศรีธัญญา

อาการสำ�คัญ

มีอาการปัสสาวะรดที่นอน หรือปัสสาวะราดเปื้อนเสื้อผ้าบ่อย
อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน ในเด็กที่มีอายุ 5 ปี
ขึ้นไป โดยไม่มีโรคทางกายเป็นสาเหตุ

สาเหตุ

ส่วนใหญ่เป็นจากพัฒนาการที่ล่าช้า ในด้านการควบคุมการขับ
ถ่ายโดยไม่ได้เกิดจากปัญหาทางจิตใจ

การรักษา จะทำ�ให้เด็กมีแรงจูงใจที่อยากจะหาย

1. ไม่ควรดื่มนํ้ามากจนเกินไป ในช่วงใกล้เวลาเข้านอน
2. ปลุกเด็กขึ้นมาปัสสาวะทุกคืน หลังจากเด็กเริ่มหลับไปแล้ว
1-2 ชั่วโมงแล้วลองหยุดปลุกเป็นพักๆ
3. เมื่อเกิดปัสสาวะรดที่นอนขึ้นแล้ว ควรปล่อยให้เด็กลุกขึ้นมา
เปลี่ยนเสื้อผ้าหรือเปลี่ยนผ้าปูที่นอนด้วยตนเอง
4. ควรแสดงความพอใจ ในวั น ที่ เ ด็ ก ไม่ ปั ส สาวะรดที่ น อน
โดยปกติการปัสสาวะรดที่นอน มักจะลดลงใน 2 สัปดาห์
5. การใช้ ย า จะพิ จ ารณาใช้ เ มื่ อ วิ ธี อื่ น ไม่ ไ ด้ ผ ล โดยให้
Imipramine 25 mg ขนาดสูงสุดไม่เกิน 50 mg ให้รบั ประทาน

114

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

1-2 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน เมื่อได้ผลแล้วจะให้ยาติดต่อกันทุก
วันประมาณ 2-3 เดือน แล้วค่อยๆ ลดยาลงในระยะเวลา 3-4
เดือน หรือใช้ยาในช่วงสั้นตามความจำ�เป็น เช่นในกรณีที่เด็ก
ไปค่ายพักแรม เป็นต้น

หมายเหตุ

ถ้าเด็กเคยสามารถควบคุม ไม่ให้ถา่ ยปัสสาวะรดที่นอนได้มาเกิน
1 ปีแล้ว มาเกิดอาการภายหลัง ควรหาสาเหตุที่เป็นปัจจัยความเครียดของ
เด็กและแก้ไข

บรรณานุกรม
1. วัณเพ็ญ บุญประกอบ, นงพงา ลิ้มสุวรรณ. ปัสสาวะรดที่นอน ใน :
วัณเพ็ญ บุญประกอบ, อัมพล สูอำ�พัน. บรรณาธิการ. จิตเวชเด็กสำ�หรับ
กุมารแพทย์ กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์, 2530 : 318-24.
2. วิฐารณ บุญสิทธิ์ ใน : วันเพ็ญ บุญประกอบ, อัมพล สูอำ�พัน, นงพงา
ลิ้มสุวรรณ. บรรณาธิการ. จิตเวชเด็กสำ�หรับกุมารแพทย์. กรุงเทพฯ :
ชวนพิมพ์. 2538 : 121-30.
3. Hoar P. Essential child psychiatry., Edinburgh : Churchill
Livingstone, 1993

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

115

โรคสมาธิสั้น
(Attention Deficit Hyperactivity Disorder)
พญ.สมรัก ชูวานิชวงศ์
จิตแพทย์ โรงพยาบาลศรีธัญญา

อาการสำ�คัญ มีพฤติกรรมที่แสดงภาวะ

1. สมาธิสั้น เช่น เปลี่ยนกิจกรรมการเล่นบ่อยมาก สอนไม่
จำ� เป็นต้น
2. หุนหันพลันแล่น เช่น รอตามคิวไม่ได้ เกิดอุบตั เิ หตุบอ่ ย เป็นต้น
3. อยู่ไม่นิ่ง เช่น ขยุกขยิก นั่งไม่ติดที่ พูดมาก เป็นต้น

โดยพฤติกรรมนั้นรุนแรง ไม่เหมาะสมกับวัยของเด็ก แสดงบ่อยๆ
เสมอๆ เป็นเวลาติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน และมีอาการแสดงเริ่มตั้งแต่
วัยเด็กตอนต้นคือก่อนอายุ 7 ขวบ

สาเหตุ

มีปญ
ั หาเกีย่ วกับการทำ�งานของสมอง และบทบาททางพันธุกรรม

การวินิจฉัยแยกโรค

1. เด็กปกติที่ค่อนข้างซน
2. สิ่งแวดล้อมที่ยุ่งเหยิง ขาดระเบียบแบบแผนมากๆ
3. เด็กที่ถูกตามใจมาก ทำ�ให้ขาดระเบียบวินัย

116

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

4. ปัญญาอ่อน
5. ออทิสซึ่ม
6. ภาวะวิตกกังวล

การรักษา

1. ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะนี้ แก่ผู้ปกครองและครู เพื่อจะ
ไม่ได้ลงโทษเด็กอย่างผิดๆ
2. ช่ ว ยแก้ ไขปั ญ หาการเรี ย นโดยหาวิ ธี ที่ จ ะช่ ว ยให้ เ ด็ ก เรี ย น
ได้ง่ายขึ้น
3. เสริมความภูมิใจ โดยให้เด็กได้ช่วยงาน เมื่องานเสร็จให้
รางวัล เช่น ของเล็กๆ น้อยๆ หรือคำ�ชม เป็นระยะตามความ
เหมาะสม
4. ใช้รับประทานยาในรายที่มีอาการมาก
4.1 haloperidol 0.5-2.0 mg/วัน สามารถลดพฤติกรรม
กระวนกระวายได้แต่จะไม่ช่วยให้การเรียนรู้ดีขึ้น
4.2 amitriptyline ให้ในขนาด 25 mg 3 เวลา ไม่ควรให้ใน
เด็กที่อายุตํ่ากว่า 12 ปี
4.3 methyl phenidate (ritalin) ขนาด 0.3-0.6 mg/kg/
ครัง้ อาจให้มอื้ เช้ามือ้ เดียว หรือมือ้ เทีย่ งอีกมือ้ ตามความ
จำ�เป็นในการควบคุมอาการ
ฤทธิ์ข้างเคียงที่พบบ่อยคือ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร นํ้าหนักลด
หงุดหงิด ปวดท้อง ไม่ควรใช้ในเด็กที่อายุตํ่ากว่า 6 ปี

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

117

การดำ�เนินโรค

หนึ่งในสามของเด็กสมาธิสั้น จะยังมีอาการบางอย่างเหลืออยู่จน
กระทั่งวัยผู้ใหญ่ เด็กเหล่านี้อาจมีความบกพร่องด้านสังคมและการเรียน
ทำ�ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทีส่ �ำ คัญคือความล้มเหลวในการเรียน บางคนอาจ
เกิดพฤติกรรมอาการเกเรและมีจ�ำ นวนไม่นอ้ ยทีม่ บี คุ ลิกภาพต่อต้านสังคมใน
วัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในรายที่มีระดับสติปัญญาตํ่า หรือ บิดา-มารดามีโรค
ทางจิตเวชที่รุนแรง

บรรณานุกรม
1. นงพงา ลิ้มสุวรรณ. Attention Hyperactivity disorders ในสมาคม
จิตแพทย์แห่งประเทศไทย, ตำ�ราจิตเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์, 2536 : 755-68.
2. Mash E. Barkley R. Treatment of childhood disorders. New
York : The Guilford Press, 1989.
3. Hoare P. Essential child Psychiatry. Edinburgh : Churchell
Livingstone, 1993.

118

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

แนวทางการให้บริการจิตเวช
ในสถานบริการสาธารณสุขทั่วไป
ผศ.นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ประเภทของผู้ป่วย
1. ผู้ป่วยนอก
1.1 ผูป้ ว่ ยทีแ่ พทย์ให้การวินจิ ฉัย
ว่า มีปัญหาทางจิตเวช อาจ
จะเป็นผู้ป่วยเก่าที่รักษามา
นาน หรือผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่ง
มารับบริการ
1.2 ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการทาง
จิตเวชโดยตรง เช่น นอนไม่
หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า

แนวทางการบริการ
แพทย์ให้การรักษาตามอาการ แล้วส่ง
ให้พยาบาลหรือ counselor ประเมิน
ปัญหาและให้การช่วยเหลือติดตามการ
เปลี่ยนแปลงด้วย GHQ-12
พยาบาลประเมิ น ปั ญ หาของผู้ ป่ ว ย
ด้ ว ย GHO-12 หรื อ แบบประเมิ น
และวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง
หรื อ แบบตรวจวั ด หาโรคซึ ม เศร้ า ใน
ประชากรไทยและให้พบแพทย์พร้อม
ผลการประเมิ น แพทย์ ใ ห้ ก ารรั ก ษา
ตามความเหมาะสม ติ ด ตามอาการ
เปลี่ยนแปลงด้วย GHQ-12 และ/หรือ
อาจส่งเข้ าคลินิ ก คลายเครี ย ด (ถ้ า มี )
ติดตามอาการโดยใช้แบบประเมินและ
วิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ประเภทของผู้ป่วย
1.3 ผู้ ป่ ว ยที่ แ พทย์ ไ ด้ ใ ห้ ก าร
รักษาโรคทางกายมาระยะ
หนึ่งแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น
และแพทย์สงสัยว่าอาจจะ
มีปัญหาทางจิตเวช
1.4 ผู้ ป่ ว ยที่ มี โรคเรื้ อ รั ง เช่ น
เบาหวาน หรือความดันสูง
และควบคุมอาการได้ไม่ดี

119

แนวทางการบริการ
ส่งให้พยาบาลหรือ counselor ประเมิน
ปัญหาและให้การช่วยเหลือติดตามการ
เปลี่ยนแปลงด้วย GHQ-12

ส่งให้พยาบาลหรือ counselor ประเมิน
ปัญหา ถ้าพบว่าผู้ป่วยเครียด อาจจะ
ให้เข้าคลินิกคลายเครียด (ถ้ามี) และ
ติดตามอาการ โดยใช้แบบประเมินและ
วิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง
1.5 ผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย แพทย์ประเมินความเสีย่ งและอาการซึม
เศร้าด้วยแบบตรวจวัดหาโรคซึมเศร้าใน
ประเทศไทยและให้การรักษา (ดูในบท
ฆ่าตัวตาย และบทที่เกี่ยวข้อง)
1.6 ผูป้ ว่ ยจิตเวชทีถ่ กู ส่งมาให้รบั ปฏิบัติตามใบส่งตัว
การรักษาต่อ
2. ผู้ป่วยใน
2.1 ผู้ ป่ ว ยในที่ เ สี่ ย งต่ อ การ ประเมินปัญหาทางจิตเวชด้วย HAD
มี ปั ญ หาทางจิ ต เวช เช่ น ถ้าพบว่ามีปัญหา แพทย์หรือพยาบาล
ผู้ป่วย AIDS หรือโรคเรื้อรัง ประเมินปัญหาทางจิตและสังคมของ
ผู้ป่วย (ดูเพิ่มเติมในคู่มือและดูแลทาง
สั ง คมจิ ต ใจสำ � หรั บ แพทย์ / พยาบาล
กรมสุขภาพจิต)
2.2 ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรม
แพทย์ ป ระเมิ น เพื่ อ วิ นิ จ ฉั ย แยกโรค
เปลี่ยนแปลง เช่น วุ่นวาย (ดูเรื่องภาวะสับสน delirium)
สับสน

120

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การใช้เครื่องมือ
ประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต
ผศ.นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

1. General Health Questionnaire (GHQ-12) (ผศ.นพ.ธนา
นิลชัยโกวิทย์ และคณะ)
2. แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง
(กรมสุขภาพจิต)
3. แบบตรวจวัดหาโรคซึมเศร้าในประชากรไทย (พญ.ดวงใจ
กสานติกุล และคณะ)
4. Hospital Anxiety and Depression Scale (HAD)
(ผศ.นพ.ธนา นิลชัยโกวิทย์ และคณะ)

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

121

แบบสอบถาม GHQ-12*

สุขภาพทั่วไปของท่านในระยะสองถึงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็น
อย่างไรบ้าง กรุณาตอบคำ�ถามต่อไปนี้โดยขีดเครื่องหมาย  หน้าคำ�ตอบ
ที่ใกล้เคียงกัน สภาพของท่านในปัจจุบัน หรือ ในช่วงสองถึงสามสัปดาห์ที่
ผ่านมา มากทีส่ ดุ โดยไม่รวมถึงปัญหาทีท่ า่ นเคยมีในอดีตทีน่ านกว่านี้ โปรด
ตอบคำ�ถามทุกข้อในระยะ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ท่าน
1) สามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ท�ำ อยู่ได้
[ ] ดีกว่าปกติ [ ] เหมือนปกติ
[ ] ไม่เลย

[ ] น้อยกว่าปกติ [ ] น้อยกว่าปกติมาก

2) นอนไม่หลับเพราะกังวลใจ

[ ] ไม่มากกว่าปกติ [ ] ค่อนข้างมากกว่าปกติ [ ] มากกว่าปกติมาก

3) รู้สึกว่าได้ท�ำ ตัวให้เป็นประโยชน์ในเรื่องต่างๆ ได้

[ ] มากกว่าปกติ

[ ] เหมือนปกติ

[ ] น้อยกว่าปกติ

[ ] น้อยกว่าปกติมาก

[ ] มากกว่าปกติ

[ ] เหมือนปกติ

[ ] น้อยกว่าปกติ

[ ] น้อยกว่าปกติมาก

4) รู้สึกว่าสามารถตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้
5) รู้สึกตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา

[ ] ไม่เลย [ ] ไม่มากกว่าปกติ

[ ] ค่อนข้างมากกว่าปกติ [ ] มากกว่าปกติมาก

6) รู้สึกว่าไม่สามารถที่จะเอาชนะความยากลำ�บากต่างๆ ได้

[ ] ไม่เลย [ ] ไม่มากกว่าปกติ [ ] ค่อนข้างมากกว่าปกติ [ ] มากกว่าปกติมาก

7) สามารถมีความสุขกับกิจกรรมในชีวติ ประจำ�วันตามปกติได้

[ ] มากกว่าปกติ

[ ] เหมือนปกติ

[ ] น้อยกว่าปกติ

[ ] น้อยกว่าปกติมาก

[ ] ดีกว่าปกติ

[ ] เหมือนปกติ

[ ] น้อยกว่าปกติ

[ ] น้อยกว่าปกติมาก

8) สามารถที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ ของตัวเองได้
9) รู้สึกไม่เป็นสุขและเศร้าหมอง

[ ] ไม่เลย [ ] ไม่มากกว่าปกติ [ ] ค่อนข้างมากกว่าปกติ [ ] มากกว่าปกติมาก
*พัฒนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ธนา นิลชัยโกวิทย์ และคณะ

122

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

10) รู้สึกเสียความมั่นใจในตัวเองไป

[ ] ไม่เลย [ ] ไม่มากกว่าปกติ [ ] ค่อนข้างมากกว่าปกติ [ ] มากกว่าปกติมาก

11) คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า

[ ] ไม่เลย [ ] ไม่มากกว่าปกติ [ ] ค่อนข้างมากกว่าปกติ [ ] มากกว่าปกติมาก

12) รู้สึกมีความสุขดีตามสมควร เมื่อดูโดยรวมๆ

[ ] มากกว่าปกติ

[ ] เท่าๆ ปกติ

[ ] น้อยกว่าปกติ

[ ] น้อยกว่าปกติมาก

ความคิดคะแนน

GHQ มีตัวเลือกอยู่ 4 คอลัมน์ คำ�ตอบในสองคอลัมน์ซา้ ยมือไม่มี
คะแนน (0) คำ�ตอบสองคอลัมน์ทางขวามือให้ 1 คะแนน คะแนนรวมได้
จากการบวกคะแนนของสองคอลัมน์ทางขวามือ คะแนนรวมที่เป็นไปได้คือ
0-12 ในการวิจยั คะแนนรวมตัง้ แต่ 2 ขึน้ ไปถือว่า ให้ผลบวก (ความไว 78.1,
ความจำ�เพาะ 85.3) ในทางปฏิบัติอาจจะเพิ่มระดับคะแนนเป็น 3 หรือ 4
ก็ได้ตามความเหมาะสม

การประยุกต์ใช้ GHQ

1. เพื่อช่วยให้แพทย์ประเมินปัญหาสุขภาพจิตในผู้ป่วยที่มารับ
บริการได้สะดวกและรวดเร็ว แพทย์หรือพยาบาลสามารถใช้
ผลการประเมินแต่ละข้อของ GHQ ในการสืบค้นอาการและ
ปัญหาของผูป้ ว่ ยได้โดยตรง เช่น อาจจะถามผูป้ ว่ ยว่า “ทีต่ อบ
ว่า รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า พอจะเล่าให้ฟังได้ไหมว่าเป็น
อย่างไร?...อะไรเป็นสาเหตุ ?...” เป็นต้น
2. ใช้ ใ นการประเมิ น และติ ด ตามผลการรั ก ษา โดยอาจจะ
พิจารณาจากการตอบคำ�ถามแต่ละข้อ หรือการเปลี่ยนแปลง

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

123

ของระดับคะแนนรวม ให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถาม GHQ ทุก
ครั้งที่มารับการรักษาและบันทึกผลการตอบลงไว้ในแฟ้มของ
ผู้ป่วย หรืออาจจะทำ�ตารางบันทึกผลแยกไว้เป็นตารางต่าง
หากก็ได้ การติดตามอาการโดยใช้คะแนน GHQ จะช่วยให้
ผู้รักษาทราบถึงปัญหาของผู้ป่วยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
3. ใช้ในการประเมินความชุกของปัญหาสุขภาพจิตหรือค้นหา
ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต เพื่อวางแผนการบริการ
GHQ สามารถนำ�มาใช้ในการสำ�รวจความชุกของปัญหาสุขภาพจิต
ได้ แต่ละสถานบริการสามารถรายงานความชุกของปัญหาได้ โดยให้ผทู้ มี่ าใช้
บริการทุกรายตอบแบบสอบถาม GHQ สัดส่วนของผูท้ มี่ คี ะแนนตัง้ แต่ 2 ขึน้
ไปถือว่าเป็นความชุกของปัญหา ซึง่ ข้อมูลนีจ้ ะเป็นประโยชน์ในการวางแผน
การบริการที่เหมาะสมต่อไปได้

124

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียด
ด้วยตนเอง*

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมานี้ ท่านมีอาการ พฤติกรรม หรือ
ความรู้สึกต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด
โปรดขีดเครือ่ งหมาย  ลงในช่องแสดงระดับอาการทีเ่ กิดขึน้ กับ
ตัวท่านตามความเป็นจริงมากที่สุด
คะแนน/ระดับอาการ
0
1
2
3
อาการ พฤติกรรมหรือความรู้สึก
ไม่เคย เป็นครั้ง เป็น เป็น
เลย คราว บ่อยๆ ประจำ�
1. นอนไม่หลับเพราะคิดมากหรือ
กังวลใจ
2. รู้สึกหงุดหงิด รำ�คาญใจ
3. ทำ�อะไรไม่ได้เลย เพราะประสาท
ตึงเครียด
4. มีความวุ่นวายใจ
5. ไม่อยากพบปะผู้คน
6. ปวดหัวข้างเดียว หรือปวด
บริเวณขมับทั้ง 2 ข้าง
7. รูส้ กึ ไม่มคี วามสุขและเศร้าหมอง
*พัฒนาโดย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

125

คะแนน/ระดับอาการ
0
1
2
3
อาการ พฤติกรรมหรือความรู้สึก
ไม่เคย เป็นครั้ง เป็น เป็น
เลย คราว บ่อยๆ ประจำ�
8. รู้สึกหมดหวังในชีวิต
9. รู้สึกชีวิตตนเองไม่มีคุณค่า
10. กระวนกระวายอยู่ตลอดเวลา
11. รู้สึกว่าตนเองไม่มีสมาธิ
12. รู้สึกอ่อนเพลียไม่มีแรงจะทำ�
อะไร
13. รู้สึกเหนื่อยไม่อยากทำ�อะไร
14. มีอาการหัวใจเต้นแรง
15. เสียงสั่น ปากสั่น หรือมือสั่น
เวลาไม่พอใจ
16. รู้สึกกลัวผิดพลาดในการทำ�
สิ่งต่างๆ
17. ปวด หรือเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณ
ท้ายทอย หลัง หรือไหล่
18. ตื่นเต้นง่ายกับเหตุการณ์
ไม่คุ้นเคย
19. มึนงงหรือเวียนศีรษะ
20. ความสุขทางเพศลดลง

126

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

การแปลผล
ระดับคะแนน 0-5
ท่านมีความเครียดอยูใ่ นระดับตํา่ กว่าเกณฑ์ปกติอย่างมาก ทฤษฎี
ถือว่ามีความเป็นไปได้เพียงเล็กน้อยเท่านัน้ ทีจ่ ะมีความเครียดในระดับตํา่ มาก
เช่นนี้ ในกรณีของท่านอาจมีความหมายว่า
 ท่านตอบคำ�ถามไม่ตรงตามความเป็นจริง หรือ
 ท่านอาจเข้าใจคำ�สั่งหรือข้อความคลาดเคลื่อนไป
 ท่านอาจเป็นคนทีข
่ าดแรงจูงใจในการดำ�เนินชีวติ มีความเฉือ่ ย
ชา ชีวติ ประจำ�วันซํ้าซากจำ�เจ น่าเบือ่ ปราศจากความตืน่ เต้น
ระดับคะแนน 6-17
ท่ า นมี ค วามเครี ย ดอยู่ ใ นเกณฑ์ ป กติ สามารถจั ด การกั บ
ความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำ�วันและสามารถปรับตัวกับสถานการณ์
ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม รู้สึกพึงพอใจเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมเป็น
อย่างมาก รู้สึกมีพลังมีชีวิตวีวา กระตือรือร้นมองสิ่งเร้าหรือเหตุการณ์รอบ
ตัวว่าเป็นสิง่ ท้าทายความสามารถ มีความสามารถในการจัดการกับสิง่ ต่างๆ
ได้อย่างเหมาะสม ผลผลิตของการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง
ความเครี ย ดในระดั บ นี้ ถื อ ว่ า มี ป ระโยชน์ ใ นการดำ � เนิ น
ชีวิตประจำ�วัน เป็นแรงจูงใจที่นำ�ไปสู่ความสำ�เร็จในชิวตได้
ระดับคะแนน 18-25
ท่านมีความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย มีความไม่
สบายใจอันเกิดจากปัญหาในการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน โดยที่ปัญหาหรือ
ข้อขัดแย้งของท่าน อาจจะยังไม่ได้รับการคลี่คลายหรือแก้ไขซึ่งถือว่าเป็น
ความเครียดที่พบได้ในชีวิตประจำ�วัน อาจไม่รู้ตัวว่ามีความเครียดหรืออาจ

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

127

รู้สึกได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรม
บ้างเล็กน้อย แต่ไม่ชัดเจนและยังพอทนได้ แม้วา่ ท่านจะมีความยุ่งยากใน
การจัดการกับปัญหาอยู่บ้างและอาจต้องใช้เวลาในการปรับตัวมากขึ้นกว่า
เดิม ท่านก็สามารถจัดการกับความเครียดได้ และไม่เป็นผลเสียต่อการดำ�เนิน
ชีวติ ในกรณีนที้ า่ นควรผ่อนคลายความเครียดด้วยการหาความเพลิดเพลินใจ
เช่น ออกกำ�ลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง สังสรรค์กับเพื่อนๆ ฯลฯ
ระดับคะแนน 26-29
ท่านมีความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติปานกลาง ขณะนี้ทา่ น
เริม่ มีความตึงเครียดในระดับค่อนข้างสูงและได้รบั ความเดือดร้อนเป็นอย่าง
มากจากปัญหาทางอารมณ์ที่เกิดจากปัญหาความขัดแย้งและวิกฤตการณ์
ในชีวิตเป็นสัญญาณเตือนขึ้น เป็นต้นว่าท่านกำ�ลังเผชิญกับภาวะวิกฤตและ
ความขัดแย้ง ซึ่งท่านจัดการแก้ไขด้วยความยากลำ�บาก ลักษณะอาการ
ดังกล่าวจะเพิ่มความรุนแรง ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำ�งาน จำ�เป็นต้องหาวิธี
แก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆ ให้น้อยลง หรือหมดไปด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง
และควรคลี่คลายความเครียดด้วยการพูดคุยปรึกษากับคนที่ไว้วางใจ หรือ
ปรึกษาทางโทรศัพท์ (Hotline)
ระดับคะแนน 30-60
ท่ า นมี ค วามเครี ย ดอยู่ ใ นระดั บ สู ง กว่ า ปกติ ม าก กำ � ลั ง ตกอยู่
ในสภาวะตึงเครียดหรือกำ�ลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ในชีวิตอย่างรุนแรง
การเจ็บป่วยที่รุนแรง เรื้อรัง ความพิการ การสูญเสีย ปัญหาความรุนแรง
ในครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่าง
ชัดเจน ทำ�ให้ชีวิตไม่มีความสุข ฟุ้งซ่าน ตัดสินใจผิดพลาด ขาดความยับยั้ง
ชั่งใจ อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

128

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

ความเครียดในระดับนี้ถือว่ามีความรุนแรงสูงมาก หากปล่อยไว้
โดยไม่ดำ�เนินการแก้ไขอย่างเหมาะสมและถูกวิธี อาจนำ�ไปสู่ความเจ็บป่วย
ทางจิตที่รุนแรง ซึ่งส่งผลเสียต่อตนเองและบุคคลใกล้ชิดต่อไปได้ ในระดับนี้
ควรขอรับบริการ Hotline และคลินกิ คลายเครียด ซึง่ มีอยูต่ ามสถานบริการ
ทั่วประเทศ

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

129

แบบตรวจวัดหา
โรคซึมเศร้าในประทศไทย
คำ�ชี้แจง

แบบสอบถามปั ญ หาสุ ข ภาพ พั ฒ นาขึ้ น โดยกลุ่ ม พั ฒ นา
แบบสอบถามแบบวัดด้วยตนเอง เพื่อตรวจวัดหาโรคซึมเศร้าในประชากร
ไทย โดยมีข้อคำ�ถามจำ�นวน 20 ข้อ คะแนนรวม 60 คะแนน

ข้อบ่งชี้ในการใช้

ผู้มารับปรึกษาที่มีอาการและอาการแสดงของโรคซึมเศร้า

เกณฑ์การพิจารณาและดำ�เนินการ

หากตรวจพบว่ า ค่ า คะแนนรวมที่ ไ ด้ สู ง กว่ า 30 คะแนน
ควรประเมินระดับความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าและการ
ฆ่าตัวตายด้วย
 อาจพิจารณาให้ antidepressant ตามความเหมาะสม
 นัดมา follow up
 ส่งต่อให้แพทย์


*พัฒนาโดย

พ.ญ.ดวงใจ กสานติกุล พ.บ.
น.พ.นิพัทธิ์ กาญจนธนาเลิศ พ.บ.
พ.ญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ พ.บ.
พ.ญ.อรพรรณ ทองแดง พ.บ.

ร.พ.จุฬาลงกรณ์
ร.พ.จุฬาลงกรณ์
ร.พ.รามาธิบดี
ร.พ.ศิริราช

พ.ญ.ม.ล.แสงจันทน์ วุฒิกานนท์ พ.บ. ร.พ.ศิริราช
พ.อ.น.พ.วีระ เขื่องศิริกุล พ.บ. ร.พ.พระมงกุฎเกล้า
น.พ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล พ.บ. ร.พ.สวนปรุง
พ.ญ.วรลักษณา ธีระโมกข์ พ.บ. ร.พ.พญาไท 2

130

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

แบบตรวจวัดหา
โรคซึมเศร้าในประเทศไทย
กรุณาขีด  หน้าข้อที่ตรงกับความรู้สึกของคุณ
(บ่อยๆ = เกือบทุกวัน, ค่อนข้างบ่อย = 2-3 วัน/สัปดาห์, บางครัง้ = น้อยกว่า
สัปดาห์ละครั้ง)
1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.


รู้สึกเบื่ออาหาร
บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
นอนไม่หลับหรือต้องใช้ยาช่วยให้หลับ
บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
คิดมาก กังวล
บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
รู้สึกสบายใจ
บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
รู้สึกเบื่อ ไม่อยากพูดคุย
บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
ใจลอย ไม่มีสมาธิ
บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
อยากอยู่เฉยๆ ไม่อยากทำ�อะไร
บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย

บางครั้ง

ไม่เลย

บางครั้ง

ไม่เลย

บางครั้ง

ไม่เลย

บางครั้ง

ไม่เลย

บางครั้ง

ไม่เลย

บางครั้ง

ไม่เลย

บางครั้ง

ไม่เลย

บางครั้ง

ไม่เลย

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

9. รู้สึกเศร้า หดหู่ใจ

บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
บางครั้ง
10. ชีวิตอนาคตยังน่าอยู่ มีความหมาย

บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
บางครั้ง
11. ร้องไห้หรืออยากร้องไห้

บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
บางครั้ง
12. ตัดสินใจไม่ได้แม้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ

บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
บางครั้ง
13. ชีวิตไม่มีความสุข

บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
บางครั้ง
14. รู้สึกเศร้าซึมเมื่อตื่นตอนตอนเช้า

บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
บางครั้ง
15. รู้สึกตัวเองมีคุณค่า

บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
บางครั้ง
16. ตำ�หนิหรือกล่าวโทษตนเอง

บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
บางครั้ง
17. เบื่อหน่ายเกือบทุกอย่าง

บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
บางครั้ง
18. คิดอยากตาย

บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
บางครั้ง
19. คนอื่นทักว่าคุณดูเครียด ซึมหรือหมองคลํ้า

บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
บางครั้ง
20. พยายามฆ่าตัวตาย

บ่อยๆ
ค่อนข้างบ่อย
บางครั้ง

131
ไม่เลย
ไม่เลย
ไม่เลย
ไม่เลย
ไม่เลย
ไม่เลย
ไม่เลย
ไม่เลย
ไม่เลย
ไม่เลย
ไม่เลย
ไม่เลย

132

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

วิธีให้คะแนน

ในข้อ 1-4, 6-9, 11-14, 16-19 ให้คะแนนดังนี้
บ่อยๆ = 3 ค่อนข้างบ่อย =2 บางครั้ง = 1 ไม่เลย = 0
ในข้อ 5, 10, 15, 20 ให้คะแนนดังนี้
บ่อยๆ = 0 ค่อนข้างบ่อย = 1 บางครั้ง = 2 ไม่บ่อย = 3
หากตรวจสอบพบว่าค่าคะแนนรวมที่ได้สูงกว่า 30 คะแนน
ควรพบแพทย์ - จิตแพทย์ เพื่อรับคำ�ปรึกษาในการรักษา
รวมคะแนน.........................

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

133

แบบสอบถาม Hospital Anxiety and
Depression Scale ฉบับภาษาไทย
(Thai HADS)*
อารมณ์ ค วามรู้ สึ ก เป็ น ส่ ว นสำ � คั ญ ส่ ว นหนึ่ ง ของการเจ็ บ ป่ ว ย
ถ้าผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยเข้าใจสภาพอารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้ของท่าน ก็จะ
สามารถให้การช่วยเหลือ และดูแลได้ดียิ่งขึ้น
แบบสอบถามชุดนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้ผู้ดูแลรักษาท่าน
เข้าใจอารมณ์ความรูส้ กึ ของท่านในขณะเจ็บป่วยได้ดขี นึ้ กรุณาอ่านข้อความ
แต่ละข้อและทำ�เครื่องหมายถูก  ในช่องคำ�ตอบที่ใกล้เคียงกับความรู้สึก
ของท่านในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผา่ นมามากที่สุด และกรุณาตอบทุกข้อ
คะแนน
1.






คะแนน

ฉันรู้สึกตึงเครียด
( ) เป็นส่วนใหญ่
( ) บ่อยครั้ง
( ) เป็นบางครั้ง
( ) ไม่เป็นเลย

3
2
1
0

2.






ฉันรู้สึกเพลิดเพลินใจกับสิ่งต่างๆ
ที่ฉันเคยชอบได้
( ) เหมือนเดิม
0
( ) ไม่มากเท่าแต่ก่อน
1
( ) มีเพียงเล็กน้อย
2
( ) เกือบไม่มีเลย
3

134

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

3. ฉันมีความรู้สึกกลัว คล้ายกับว่า
กำ�ลังจะมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น
( ) มี และค่อนข้างรุนแรงด้วย 3
( ) มี แต่ไม่มากนัก
2
( ) มีเพียงเล็กน้อยและไม่ทำ�ให้ 1
กังวลใจ
( ) ไม่มีเลย
0

4.






สามารถหั ว เราะมี อ ารมณ์ ขั น ใน
เรื่องต่างๆ ได้
( ) เหมือนเดิม
0
( ) ไม่มากนัก
1
( ) มีน้อย
2
( ) ไม่มีเลย
3

5.





ฉันมีความคิดวิตกกังวล
( ) เป็นส่วนใหญ่
( ) บ่อยครั้ง
( ) เป็นบางครั้ง แต่ไม่บ่อย
( ) นานๆ ครั้ง

6.





ฉันรู้สึกแจ่มใสเบิกบาน
( ) ไม่มีเลย
( ) ไม่บ่อยนัก
( ) เป็นบางครั้ง
( ) เป็นส่วนใหญ่

7.






ฉันสามารถทำ�ตัวตามสบาย และ 8.
รู้สึกผ่อนคลาย

( ) ได้ดีมาก
0
( ) ได้โดยทั่วไป
1
( ) ไม่บ่อยนัก
2
( ) ไม่ได้เลย
3

9.






ฉันรูส้ กึ ไม่สบายใจ จนทำ�ให้ปน่ั ป่วน
ในท้อง
( ) ไม่เป็นเลย
0
( ) เป็นบางครั้ง
1
( ) ค่อนข้างบ่อย
2
( ) บ่อยมาก
3

3
2
1
0

3
2
1
0

ฉันรู้สึกว่าตัวเองคิดอะไรทำ�อะไร
เชื่องช้าลงกว่าเดิม
( ) เกือบตลอดเวลา
3
( ) บ่อยมาก
2
( ) เป็นบางครั้ง
1
( ) ไม่เป็นเลย
0

10. ฉันปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่สนใจ
ตนเอง
( ) ใช่
( ) ไม่ค่อยใส่ใจเท่าที่ควร
( ) ใส่ใจน้อยกว่าแต่ก่อน
( ) ยังใส่ใจตนเองเหมือนเดิม

3
2
1
0

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์
11. ฉันรู้สึกกระสับกระส่ายเหมือนกับ
จะอยู่นิ่งๆ ไม่ได้
( ) เป็นมากทีเดียว
3
( ) ค่อนข้างมาก
2
( ) ไม่มากนัก
1
( ) ไม่เป็นเลย
0
13. ฉันรู้สึกผวาหรือตกใจขึ้นมาอย่าง
กระทันหัน
( ) บ่อยมาก
3
( ) ค่อนข้างบ่อย
2
( ) ไม่บ่อยนัก
1
( ) ไม่มีเลย
0

คำ�ชี้แจง

135

12. ฉันมองสิ่งต่างๆ ในอนาคตด้วย
ความเบิกบานใจ
( ) มากเท่าที่เคยเป็น
0
( ) ค่อนข้างน้อยกว่าที่เคยเป็น 1
( ) น้อยกว่าที่เคยเป็น
2
( ) เกือบจะไม่มีเลย
3

14. ฉันรู้สึกเพลิดเพลินไปกับการอ่าน
หนังสือ ฟังวิทยุ หรือดูโทรทัศน์
หรือกิจกรรมอืน่ ๆ ทีเ่ คยเพลิดเพลิน
( ) เป็นส่วนใหญ่
0
( ) เป็นบางครั้ง
1
( ) ไม่บ่อยนัก
2
( ) น้อยมาก
3

แบบสอบถาม Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับ
ภาษาไทย (Thai HADS) เป็นแบบสอบถามที่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อใช้เป็นแบบ
คัดกรองอาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยในโรงพยาบาล โดย
คำ�ถามจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม เป็นคำ�ถามถึงอาการวิตกกังวล และอาการ
ซึมเศร้า การคิดคะแนนสำ�หรับอาการวิตกกังวล คิดคะแนนข้อคี่ (1 3 5 7 9)
ทัง้ หมดรวมกัน สำ�หรับอาการซึมเศร้า คิดคะแนนข้อคู่ (2 4 6 8 10) ทัง้ หมด
รวมกัน ผู้ป่วยที่มีคะแนนรวมของกลุ่มอาการใดเกินกว่า 11 แสดงว่าอาจมี
ความผิดปกติทางจิตเวชในกลุ่มอาการนั้น

136

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

คณะที่ปรึกษา
1.

2.

3.



รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต (นายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์)
กรมสุขภาพจิต
นายแพทย์ใหญ่กรมสุขภาพจิต (นายแพทย์ธนู ชาติธนานนท์)
กรมสุขภาพจิต
ผู้อำ�นวยการสำ�นักพัฒนาสุขภาพจิต
(นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมณ์ศานติ์)
กรมสุขภาพจิต

คณะผู้เชี่ยวชาญ

1. รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงอุมาพร ตรังคสมบัติ

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

คณะแพทย์ศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. นายแพทย์ชัยฤทธิ์ กฤษณะ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
3. แพทย์หญิงวาสนา พัฒนกำ�จร โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี
4. นายแพทย์อนนท์ บริณายะกานนท์ โรงพยาบาลราชวิถี
5. นายแพทย์ยุคล กาญจนรักษ์ โรงพยาบาลอินทร์บุรี

คณะทำ�งาน

1. แพทย์หญิงดวงตา ไกรภัสสร์พงษ์ ผูอ้ �ำ นวยการส่วนพัฒนาบริการจิตเวช

สำ�นักพัฒนาสุขภาพจิต
2. แพทย์หญิงสมรัก ชูวานิชวงศ์ โรงพยาบาลศรีธัญญา
3. แพทย์หญิงอรวรรณ ศิลปกิจ โรงพยาบาลศรีธัญญา

คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช สำ�หรับแพทย์

137

4. นายแพทย์วีรพล อุณหรัศมี โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
5. นายแพทย์วิเชียร ดีเป็นธรรม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์มาโนช หล่อตระกูล

ภาควิชาการจิตเวชศาสตร์

คณะแพทย์ศาสตร์รามาธิบดี
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ชัชวาล ศิลปกิจ

ภาควิชาการจิตเวชศาสตร์

คณะแพทย์ศาสตร์รามาธิบดี
8. นายแพทย์จุพล สมประสงค์
โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
9. ทันตแพทย์หญิงเจริญขวัญ ชาลีภา สำ�นักพัฒนาสุขภาพจิต
10. นางสาวนัยนา วัชระคิรินทร์
สำ�นักพัฒนาสุขภาพจิต
11. นางอรวรรณ ดวงจันทร์
สำ�นักพัฒนาสุขภาพจิต
12. นางสาววิไล เสรีสิทธิพิทักษ์
สำ�นักพัฒนาสุขภาพจิต
13. นางเพ็ญศรี ฤธาทิพย์
สำ�นักพัฒนาสุขภาพจิต
14. นายอภิสิทธิ์ ฤธาทิพย์
สำ�นักพัฒนาสุขภาพจิต
15. นางสาวธัญลักษณ์ เพชร์หมู่
สำ�นักพัฒนาสุขภาพจิต
16. นางตติยา ทุนเสน
สำ�นักพัฒนาสุขภาพจิต
17. นางสาวศิริลักษณ์ สว่างวงศ์สิน
สำ�นักพัฒนาสุขภาพจิต
18. นางวีณา บุญแสง
สำ�นักพัฒนาสุขภาพจิต

Sponsor Documents

Or use your account on DocShare.tips

Hide

Forgot your password?

Or register your new account on DocShare.tips

Hide

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Back to log-in

Close